|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0039,001,ปฏิหาริย์อันเกิดมาจากอิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และอนุสาสนีวิธี ท่านก็เรียกว่า
|
|
45,0039,002,ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง ฌานที่ ๔ และมรรค ก็ชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะนำ
|
|
45,0039,003,ไปซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก. คุณชาติที่ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ ๔
|
|
45,0039,004,และมรรคนั้นบ้าง เพราะเป็นนิมิตในฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง เพราะมา
|
|
45,0039,005,จากฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง. ก็เพราะเหตุที่ ตันติตันติเทศนา และอรรถ-
|
|
45,0039,006,ตันติเทศนา กล่าวคือการบรรลุปาฏิหาริย์นั้น หรือกล่าวคือการแทงตลอด
|
|
45,0039,007,เหตุผล และการบัญญัติเหตุผลทั้งสองนั้น ลึกซึ้งด้วยเหตุผล เทศนาและปฏิเวธ
|
|
45,0039,008,อันบุคคลผู้มีได้สั่งสมบุญกุศลไว้หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันสัตว์
|
|
45,0039,009,ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยากฉะนั้น และมีที่พึ่งอันบุคคลเหล่านั้น
|
|
45,0039,010,หาไม่ได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลึกซึ้งด้วยเหตุ ผล เทศนา และปฏิเวธ เพราะ
|
|
45,0039,011,ประกอบด้วยคัมภีรภาพทั้ง ๔ เหล่านั้น. เสียงแสดงธรรมของ<B>พระผู้มีพระ-
|
|
45,0039,012,ภาคเจ้า</B>อย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในขณะเดียวกัน เป็นเสียงที่สัตว์ทั้งหลายผู้
|
|
45,0039,013,ต่างภาษากัน รับฟังได้พร้อมกันตามภาษาของตน ย่อมเป็นไปเพื่อให้เข้าใจ
|
|
45,0039,014,ความหมายได้. เพราะว่าพุทธานุภาพ เป็นอจินไตย. นักศึกษาพึงเข้าใจว่า
|
|
45,0039,015,เสียงแสดงธรรมของ<B>พระผู้มีพระภาคเจ้า</B> มาสู่คลองแห่งโสตประสาท (มา
|
|
45,0039,016,กระทบโสตประสาท) ของสรรพสัตว์ตามควรแก่ภาษาของตน ๆ.
|
|
45,0039,017,ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะ <B>พระอานนทเถระ</B> เมื่อ
|
|
45,0039,018,จะออกตัวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้งด้วยตนเอง จึง
|
|
45,0039,019,กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าเองก็ได้ฟังมาอย่างนี้.
|
|
45,0039,020,<B>พระอานนทเถระ</B> แสดงไข (ขยาย) สูตรทั้งหมดที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ ด้วย
|
|
45,0039,021,อิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะนี้.
|
|
45,0039,022,ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า อวธารณะ <B>พระอานนทเถระ</B> เมื่อ
|
|
45,0039,023,จะแสดงพลังแห่งความทรงจำของตน ซึ่งสมควรแก่ภาวะที่<B>พระผู้มีพระภาค-</B>
|
|
|