Dataset Viewer
Auto-converted to Parquet
id
stringlengths
5
7
url
stringlengths
111
291
title
stringlengths
9
29
text
stringlengths
207
66.4k
32370
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97
โรคประสาท
โรคประสาท () เป็นคำเก่าที่ปัจจุบันไม่มีที่ใช้ในทางการแพทย์แล้ว โดยเดิมหมายถึงความผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่ไม่รุนแรง แสดงอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้จิตใจแปรปรวน อ่อนไหวง่าย มักมีความรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวลอยู่เสมอ ไม่สามารถควบคุมความรู้สึกอารมณ์หรือพฤติกรรมให้เหมือนเดิมได้ อาการทางกายภาพแสดงออกได้ หลายรูปแบบ ประวัติศาสตร์และนิรุกติศาสตร์ คำว่า Steave ถูกเสนอให้ใช้เป็นครั้งแรกโดยแพทย์ชาวสก็อตต์ William Cullen ในปี ค.ศ. 1769 โดยหมายถึงความผิดปกติเกี่ยวกับการรับสัมผัสและการเคลื่อนไหว (disorders of sense and motion) ซึ่งเกิดจากการได้รับผลกระทบโดยรวมของระบบประสาท (general affection of the nernous system) โดยถือว่าเป็นคำที่ใช้อธิบายความผิดปกติและอาการทางระบบประสาทหลายๆ อย่างที่ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสรีรวิทยา มีที่มาจากคำภาษากรีก neuron (เส้นประสาท) เสริมกับคำปัจจัย -osis (ซึ่งผิดปกติ ซึ่งเป็นโรค) อย่างไรก็ดีคำ neurosis นี้ถูกอธิบายอย่างละเอียดโดย Carl Jung และ Sigmund Freud ในกว่าหนึ่งศตวรรษต่อมา ต่อมาจึงมีการใช้คำนี้ในงานเขียนทางจิตวิทยาและปรัชญาอยู่ระยะหนึ่ง คู่มือการวินิจฉัยและจำแนกทางสถิติของโรคทางจิตใจ (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, DSM) ได้ถอนหมวดหมู่ที่เกี่ยวข้องกับ neurosis ออกทั้งหมด สะท้อนถึงการตัดสินใจของบรรณาธิการที่ต้องการให้มีการใช้พฤติกรรมมาเป็นเงื่อนไขการวินิจฉัยแทนที่จะเป็นกระบวนการทางจิตที่ซ่อนอยู่ หลังจากนั้น The American Heritage Medical Dictionary ก็ได้ระบุว่าคำนี้เป็นคำที่ไม่มีที่ใช้ในการวินิจฉัยทางจิตเวชอีกต่อไป การเปลี่ยนแปลงของ DSM ครั้งนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงกันอย่างกว้างขวาง ลักษณะสำคัญของโรคประสาท เกิดขึ้นฉับพลัน มักทราบว่าอาการเกิดขึ้นเมื่อใด ก่อนเกิดอาการมักมีสาเหตุที่กระตุ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ เช่น การตาย ฯลฯ เป็นความแปรปรวนชนิดอ่อน ส่วนมากยังทำงานหรือเข้าสังคมได้แต่สมรรถภาพไม่ดีเท่าที่ควร บุคลิกภาพไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก อยู่ในสภาพของความเป็นจริงและคงสภาพตัวเองได้ รู้ตัวว่าไม่สบาย กังวลผิดปกติ ตามลักษณะอาการ ประเภทของโรคประสาท ตามลักษณะอาการ ชนิดวิตกกังวล มีอารการวิตกกังวลเป็นสำคัญ ไม่สบายใจ หวาดหวั่นไม่สมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ใจสั่น อาจตัวร้อน ชาเป็นแถบ ๆ หายใจไม่อิ่ม เบื่ออาหาร มีเหงื่อออกตามมือและเท้า ก่อนหลับมีอาการสะดุ้งคล้ายตกเหว ชนิดฮิสทีเรีย เกิดจากความขัดแย้งทางจิตใจหรือความวิตกกังวลได้เปลี่ยนเป็นอาการทางกายที่เกี่ยวกับระบบความรู้สึกหรือส่วนของร่างกายที่อยู่ภายใต้อำนาจจิตใจ ตรวจไม่พบอาการผิดปกติ ลักษณะสำคัญ คือ มีบุคลิกภาพฮิสทีเรียมาก่อน เจ้าอารมณ์ หลงตัวเอง มีปัญหาทางเพศมาเกี่ยวข้อง ไม่สนใจอาการที่เกิดขึ้น มีความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องความสามารถจากคนอื่นหรือมีผลตอบแทนที่เกิดจากการที่เกิดขึ้นและมีลักษณะชักจูงง่าย ชนิดหวาดกลัว มีความกลัวอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ อาการหวาดกลัวแสดงออกในรูปการเป็นลม อ่อนเพลีย ใจสั่น เหงื่อออก คลื่นไส้ และอาการหายไปเมื่อพ้นสภาพการณ์ สิ่งที่กลัวมักได้แก่ กลัวการอยู่ตามลำพัง กลัวสถานการณ์บางอย่าง กลัววัตถุ กลัวกิจกรรม ชนิดย้ำคิดย้ำทำ เกิดจากสภาวะที่ความวิตกกังวล ถูกแก้ไขด้วยการคิดหรือการกระทำบางอย่างซ้ำ ๆ กัน โดยไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ชนิดซึมเศร้า เป็นความแปรปรวนซึ่งมักเกิดจากความขัดแย้งภายในใจ หรือเหตุการณ์เกี่ยวกับการสูญเสีย ทำให้มีความรู้สึกเศร้า ขาดความสนใจ ความคิดช้า เคลื่อนไหวช้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ท้องผูก ฯลฯ ชนิดท้อแท้ อาการมีหลายแบบส่วนมากเป็นแบบท้อแท้ใจ หมดแรง ไม่แจ่มใส นอนไม่หลับ ชนิดบุคลิกวิปลาส จะรู้สึกว่าส่วนของร่างกาย บุคลิกภาพตนเองเปลี่ยนแปลง รู้สึกสับสน ไม่รู้ตัวเองเป็นใคร ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ฯลฯ ชนิดไฮโปคอนดิเคิล มีความวุ่นวายเกี่ยวกับร่างกายและย้ำคิดเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองโดยที่ร่างกายอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนทั่วไป อ้างอิง ประสาท รคประสาท รคประสาท ศัพท์ทางการแพทย์ที่เลิกใช้แล้ว ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
110329
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์ มาจากคำว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับ เวชศาสตร์ ที่แปลว่า ศาสตร์ด้านการแพทย์ เมื่อรวมกันจึงหมายถึง การศึกษาทางด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับอาการบกพร่องทางจิต ต่างกับ คำว่า จิตวิทยา ตรงที่ว่า จิต ที่แปลว่าจิตใจ รวมกับคำว่า วิทยา ที่มาจากวิทยาศาสตร์แทน ดังนั้น จิตวิทยาจึงเน้นเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตใจที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางด้านการแพทย์ บางคนอาจจะมีอาการทางจิตที่ผิดปกติชัดเจน เช่น อาการหูแว่ว หวาดระแวง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป หรือมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้าท้อแท้ จนรบกวนต่อการใช้ชีวิต ขณะที่บางคน อาจมีภาวะเครียด นอนไม่หลับ หรือต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาในชีวิตบางอย่าง อาการบกพร่องทางจิต มีความหมายตามแนวความคิดที่มีอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นอาการที่เกิดจากความบกพร่องจากการทำงานของระบบประสาทของสมองมนุษย์ โดยมีสาเหตุมาจากกระบวนการพัฒนาสมองที่ถูกกำหนดจากยีน และสภาพแวดล้อม ประวัติ ในสมัยโบราณ ประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว อาการบกพร่องทางจิตหรือประสาท ถูกมองว่าเกิดจากปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ คำอธิบายลักษณะนี้เกิดขึ้นในกรีกโบราณและอาณาจักรโรมัน และอาจรวมถึงในวัฒนธรรมต่าง ๆ ทั่วโลก งานเขียนชิ้นแรก ๆ ที่มีการบันทึกเกี่ยวกับอาการบกพร่องทางจิต ถูกเขียนเมื่อประมาณศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดย ฮิปโปเครติส ได้อธิบายไว้ว่าอาการบกพร่องทางจิตอาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนในทางศาสนามีคำอธิบายว่าเป็นการทำงานของสิ่งชั่วร้ายที่อยู่ภายในจิตใจของผู้มีอาการบกพร่องทางจิต สาขาทางจิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ทั่วไป คือ ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชที่พบในผู้ใหญ่ เช่น โรคสมองเสื่อม โรคซึมเศร้า โรคจิต จิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ศึกษาเกี่ยวกับ โรคทางจิตเวชในเด็ก และ วัยรุ่น เช่น โรคสมาธิสั้น โรคออทิสติก การศึกษาสาขาทางจิตเวชศาสตร์ จิตเวชศาสตร์ทั่วไป ต้องศึกษาให้จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปีเสียก่อน จากนั้น จึงค่อยศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ทั่วไปอีก 3 ปี จิตเวชศาสตร์เด็ก และ วัยรุ่น ต้องศึกษาให้จบปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต 6 ปีเสียก่อน จากนั้น จึงค่อยศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์เด็ก และ วัยรุ่น อีก 4 ปี การรักษาทางจิตเวชศาสตร์ การรักษาด้วยยา ซึ่งมีหลายชนิด และยังมีการพัฒนาองค์ความรู้ในส่วนนี้อย่างต่อเนื่อง การทำจิตบำบัด (psychotherapy) ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเป็นจิตแพทย์ คือ กระบวนการพูดคุยเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทำความเข้าใจถึงตัวตน ปัญหาและที่มา ซึ่งจะช่วยนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตามหนทางที่ผู้ป่วยต้องการ จริยศาสตร์ ประสาทวิทยาศาสตร์ การแพทย์เฉพาะทาง
145860
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%81
จิตวิทยาคลินิก
-จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) คือ สาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยา (Psychology) ที่มีองค์ประกอบของข้อมูลวิชาความรู้ที่หลากหลายทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Arts and Science) นอกเหนือไปจากวิชาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ (จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาแรงจูงใจ จิตวิทยาการรับรู้ ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจบุคคลแล้ว วิชาจิตวิทยาคลินิกยังต้องการองค์ความรู้อื่นที่สำคัญ อาทิ องค์ความรู้ด้านจิตเวช(Psychiatry) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) ประสาทวิทยา(Neurology) ประสาทจิตวิทยา(Neuropsychology) สารเสพติดและการติดยา นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา(Psychotherapy and Counseling) พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูดูแลทางด้านจิตใจ และ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น ผู้รับบริการด้านจิตวิทยาคลินิก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยโรคทางด้านร่างกายอื่นๆที่มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์หรือพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถรับบริการจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน หรือแม้แต่ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว คู่สมรส หรือปัญหาด้านสัมพันธภาพต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) และมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาคลินิกส่วนใหญ่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในหน่วยงานทางการแพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ อาทิงานจิตเวชศาสตร์(Psychiatry) งานระบบประสาทและสมอง(Neuroscience) งานเวชกรรมป้องกัน งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู งานยาเสพติด จิตเวชเด็กและวัยรุ่น งานเวชศาสตร์ครอบครัว งานนิติจิตเวช เป็นต้น อาชีพหลังเรียนจบ ได้แก่ นักจิตวิทยาคลินิก ผู้ให้คำปรึกษาทางจิตวิทยา นักวิชาการด้านสุขภาพจิต บทบาทหน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่ งานตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษา ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยจิตเวชหรือบุคคลทั่วไปที่อาจมีปัญหาดังกล่าว อาทิผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร การบำบัดรักษาจะช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลง และช่วยให้บุคคลเกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในงานส่งเสริมป้องกันหรืองานจิตเวชชุมชน งานวิจัย ตลอดจนการดูแลฝึกอบรม การสอบความรู้เพื่อขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ (License) สาขาจิตวิทยาคลินิก เนื่องจากวิชาชีพจิตวิทยาคลินิกมีลักษณะการทำงานที่มีแนวปฏิบัติแตกต่างจากวิชาชีพจิตวิทยาสาขาอื่น โดยเฉพาะในด้านการตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยา ในปีพุทธศักราช 2546 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ให้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2546 ณ วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ซึ่งเหตุผลหนึ่งในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ สาขาจิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาหนึ่งที่กระทำต่อมนุษย์โดยตรง การวินิจฉัย การบำบัดความผิดปกติทางจิตอันเนื่องมาจากภาวะทางจิตใจ บุคลิกภาพ เชาวน์ปัญญา อารมณ์ พฤติกรรมการปรับตัว ความเครียด หรือพฤติกรรมผิดปกติอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพทางสมอง ด้วยวิธีเฉพาะทางจิตวิทยาคลินิก อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่มารับบริการ โดยมีค่าสอบใบประกอบโรคศิลปะ 25,000 บาท (ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพื่อการลงทะเบียนสมัครสอบ 1,050 บาท) และต้องต่ออายุใบอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะต้องเก็บหน่วยคะแนนหรือเครดิตการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง จํานวน 50 หน่วยคะแนน ภายใน 5 ปีก่อนวันครบกําหนดอายุใบอนุญาต โดยเนื้อหาการสอบประกอบไปด้วย (สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย) การสอบข้อเขียน : ทุกวิชาต้องผ่าน 60% ขึ้นไป วิชากฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพ (ปรนัย 50 ข้อ) พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม วิชาชีพจิตวิทยาคลินิก ปรนัย 100 ข้อ 60 คะแนน การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก การบําบัดทางจิตวิทยาคลินิก จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของผู้ประกอบโรคศิลปะ การศึกษาค้นคว้าวิจัยทางจิตวิทยาคลินิก การประยุกต์จิตวิทยาคลินิกเข้าสู่ชุมชน และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ข้อสอบอัตนัย 40 คะแนน - มีเนื้อหาเกี่ยวกับทักษะ การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก สอบสัมภาษณ์ (สามารถสอบได้เมื่อสอบผ่านรอบการสอบข้อเขียน) ช่องทางการรับสมัครสอบ มีดังนี้ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด ยื่นผ่านระบบออนไลน์ htpps://mrd-hss.thaijobjob.com ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ ชั้น 1 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ที่จบการศึกษาสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก จะสามารถปฏิบัติงานทางจิตวิทยาคลินิกได้โดยปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การดูแลของผู้มีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก แต่ไม่มีสิทธ์เซ็นต์เอกสารใบรับรองที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย ผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีหรือปริญญาโทสาขาอื่นนอกเหนือจากจิตวิทยาคลินิก ไม่สามารถสอบ License จิตวิทยาคลินิกได้ หากไม่ผ่านหลักสูตร internship จะไม่สามารถสอบ License ได้ เมื่อไปทำงานที่ประเทศใดก็ต้องสอบ License ประเทศที่นั้น ผู้ที่จบหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกจากต่างประเทศ สามารถสมัครหลักสูตร internship เพื่อสอบ License โดยทำเรื่องเสนอคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก พิจารณารับรองคุณสมบัติ จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู งานจิตวิทยาคลินิกมีส่วนสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟูมาก เนื่องจากผู้พิการหรือผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายย่อมมีสภาพจิตใจแย่ลง หน้าที่ของนักจิตวิทยาคือการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ ให้การปรึกษาและการรักษาทางจิตวิทยาร่วมกับจิตแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับสภาพจิตใจภายหลังเกิดความพิการได้ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมกลุ่มบำบัดร่วมกับพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูและบุคลากรอื่นๆ ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล คัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูง และร่วมวางแผนการรักษาฟื้นฟูกับทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศ งานจิตวิทยาคลินิกเริ่มเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 และได้ถือว่ามีกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1896 ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรปมีความก้าวหน้ามาก มีการให้บริการในทุกโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ มีการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ และงานวิจัยต่างๆก็ถูกตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2507 ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทยปฏิบัติงานอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์(ประจำจังหวัด) โรงพยาบาลประจำอำเภอใหญ่ๆ โรงพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลประสาท(ระบบประสาทและสมอง) ตลอดจนโรงพยาบาลในสังกัดสถาบันการศึกษาต่างๆ สถาบันด้านพัฒนาการเด็กและวันรุ่ย สถาบันธัญญารักษ์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โรงเรียนเด็กพิเศษ และศูนย์บริการสาธารณะสุขเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเรียนการสอนสาขาจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย จึงมีจำนวนผู้ที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพนี้จำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 700 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2560) สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรจิตวิทยาคลินิก จิตวิทยาคลินิกเป็นสาขาวิชาหรือวิชาเอกหนึ่งในหลักสูตรจิตวิทยา เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาโทเป็นต้นไป) โดยในระดับปริญญาตรี นิสิต-นักศึกษาจะสามารถเลือกเรียนได้ตั้งแต่ชั้นปีที่ 3 ยกเว้นหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่แยกสาขาวิชาตั้งแต่การเลือกอันดับคณะในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (ปัจจุบัน คือ TCAS) เช่นเดียวกับระดับบัณฑิตศึกษาที่เปิดสอนเป็นสาขาวิชาหรือแขนงวิชาเอกตามหลักสูตรที่กำหนด และเมื่อจบการศึกษาแล้ว บัณฑิตสามารถสอบเพื่อขอรับใบอนุญาต (License) เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยบัณฑิตทุกคนต้องเข้าอบรมหลักสูตร "การฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก" หรือ Internship ในสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาจิตวิทยาคลินิก เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อวิชาชีพ เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือนเสียก่อน อ้างอิง ข้อมูลหลักสูตรจิตวิทยาคลินิก ปีการศึกษา 2564 โดย Be PSY You https://www.facebook.com/media/set/?vanity=bepsyyou&set=a.156124246143570 ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บก. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. ดูเพิ่ม เวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยา เวชศาสตร์ฟื้นฟู จิตวิทยาคลินิก
242400
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B6%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2
โรคซึมเศร้า
"โรคซึมเศร้า ( ตัวย่อ MDD)ทางการเเพทย์เ(...TRUNCATED)
364373
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97
โรคจิตเภท
"โรคจิตเภท\n( ออกเสียงว่า สคิดโซฟรีเน(...TRUNCATED)
392661
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94
ความเครียด
"ความเครียด อาจหมายถึง\n ความเครียด (ก(...TRUNCATED)
416748
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B9%8C
สังคมสงเคราะห์
"สังคมสงเคราะห์ศาสตร์เป็นสาขาวิชาก(...TRUNCATED)
709039
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%A7
โรคอารมณ์สองขั้ว
"โรคอารมณ์สองขั้ว ( ตัวย่อ BPD, BD) ที่เคย(...TRUNCATED)
747322
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม
"การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม\n( ตั(...TRUNCATED)
813128
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87
การควบคุมอารมณ์ตนเอง
"การควบคุมอารมณ์ตนเอง () \nเป็นความสาม(...TRUNCATED)
End of preview. Expand in Data Studio

No dataset card yet

Downloads last month
11