Book,Page,LineNumber,Text
50,0009,001,บทว่า สุณาถ เป็นบทอาขยาต. นอกนี้เป็นบทนาม. และบทว่า
50,0009,002,สีหานํว ในเวลาเชื่อมความใช้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ก็และการเชื่อมความในบทว่า
50,0009,003,สีหานํว นี้ ถึงท่านจะไม่ได้กล่าวไว้โดยสรุปก็จริง แต่โดยอรรถ ย่อมชื่อว่า
50,0009,004,เป็นอันท่านกล่าวไว้แล้วทีเดียว. เพราะเหมือนอย่าง เมื่อพูดว่า โอฏฺสฺเสว
50,0009,005,มุขํ เอตสฺส ดังนี้ ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า หน้าของเขาเหมือนหน้าอูฐ ฉันใด
50,0009,006,แม้ในข้อนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพูดว่า สีหานํว ก็เท่ากับพูดความนี้ว่า เหมือนการ
50,0009,007,บันลือของสีหะ ฉะนั้น. ถ้าจะต่อศัพท์ว่า มุขะ เข้าในบทว่า โอฏฺสฺเสว
50,0009,008,ได้ไซร้ แม้ในบทว่า สีหานํว นี้ ก็ต่อบทว่า นทนฺตานํ เข้าได้ (เหมือนกัน)
50,0009,009,เพราะฉะนั้น บทว่า สีหานํ ว จึงเป็นบทตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.
50,0009,010,บทว่า นทนฺตำนํ แสดงถึงความเกี่ยวเนื่องกัน ของบทว่า สีหานํว
50,0009,011,นั้น โดยเป็นตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็น.
50,0009,012,บทว่า ทาีนํ เป็นวิเสสนะของบทว่า สีหานํ. บทว่า คิริคพฺภเร
50,0009,013,แสดงถึงที่ซึ่งราชสีห์นั้นเที่ยวไป. บทว่า สุณาถ เป็นคำเชิญชวนในการฟัง.
50,0009,014,บทว่า ภาวิตตฺตานํ แสดงถึงมูลเค้าของสิ่งที่ควรฟัง. บทว่า คาถา ได้แก่
50,0009,015,คำที่แสดงถึงเรื่องที่น่าฟัง. บทว่า อตฺถูปนายิกา เป็นวิเสสนะของบทว่า
50,0009,016,คาถา. แท้จริงคำว่า สีหานํ นทนฺตานํ ทาีนํ ในคาถานี้มาแล้ว โดย
50,0009,017,เป็นปุงลิงค์โดยแท้ แต่เปลี่ยนลิงค์เสียแล้ว พึงทราบความ แม้โดยเป็นอิตถีลิงค์
50,0009,018,ว่า สีหีนํ เป็นต้น. อีกอย่าง โดยรูปเอกเสสสมาส ทั้งราชสีห์ และนางราชสีห์
50,0009,019,ชื่อว่าสีหะ. ก็บรรดาบทเหล่านั้น โดยบทมีอาทิว่า สีหานํนิทานคาถาทั้ง ๓
50,0009,020,คาถาเหล่านี้ ใช้ได้ทั่วไปทั้งเถรคาถา และเถรีคาถา.
50,0009,021,พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สีหานํว นั้นต่อไป ชื่อว่า สีหะ เพราะ
50,0009,022,อดทน และเพราะฆ่า. อธิบายว่า เปรียบเหมือนราชสีห์ ที่เป็นพญามฤค
50,0009,023,ย่อมไม่มีอันตรายแม้จากสรภมฤค และช้างที่ตกมันแล้วเป็นต้น เพราะประกอบ