Book,Page,LineNumber,Text 49,0050,001,จะเป็นมารดา บิดา บุตร หรือหลานก็ตาม ของสัตว์เหล่านั้น คือ 49,0050,002,ผู้เกิดในเปตวิสัยระลึกไม่ได้. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า 49,0050,003,"เพราะกรรมเป็นปัจจัย, อธิบายว่า เพราะกรรมคือความตระหนี่" 49,0050,004,อันต่างโดยการไม่ให้และการปฏิเสธการให้เป็นต้น ที่ตนทำไว้ 49,0050,005,เป็นเหตุ. กรรมนั้นแหละ ทำให้พวกญาติเหล่านั้น ระลึกไม่ได้. 49,0050,006,พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความไม่มีแม้แต่การ 49,0050,007,หวนระลึก ของพวกญาติเพราะผลกรรมของพวกเปรต ผู้หวังเฉพาะ 49,0050,008,ต่อพวกญาติ ในเมื่อข้าวและน้ำเป็นต้น แม้มีประมาณไม่น้อย ก็มีอยู่ 49,0050,009,อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญทานที่พระราชาถวาย 49,0050,010,อุทิศพวกญาติผู้เกิดในเปตวิสัย จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า เอวํ ททนฺติ 49,0050,011,าตีนํ ดังนี้เป็นต้น. 49,0050,012,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ เป็นคำอุปมา. บทว่า เอวํ นั้น 49,0050,013,เชื่อมความได้ ๒ ประการ คือ บรรดาญาติบางพวก แม้ที่ระลึกไม่ได้ 49,0050,014,เพราะกรรมของสัตว์เหล่านั้นเป็นปัจจัย ญาติบางพวกผู้อนุเคราะห์ 49,0050,015,อย่างนั้น ก็ย่อมให้แก่พวกญาติ และคือพวกญาติผู้อนุเคราะห์ ย่อม 49,0050,016,ให้น้ำและข้าวอันสะอาด ประณีต อันสมควรตามกาลแก่ญาติทั้งหลาย 49,0050,017,เหมือนทานที่มหาบพิตรถวายแล้วฉะนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า 49,0050,018,ททนฺติ แปลว่า ย่อมให้ คือ อุทิศให้ มอบให้. บทว่า าตีนํ ได้แก่ 49,0050,019,ชนผู้เกี่ยวเนื่องกัน ทางมารดาและบิดา. บทว่า เย ได้แก่ ชนเหล่าใด 49,0050,020,เหล่าหนึ่งมีบุตรเป็นต้น. บทว่า โหนฺติ แปลว่า ย่อมเป็น. บทว่า 49,0050,021,อนุกมฺปกา ได้แก่ ผู้ต้องการประโยชน์ คือ ผู้แสวงหาประโยชน์