Book,Page,LineNumber,Text 48,0026,001,ความไม่แน่นอน ถือเอาความต่างเป็นอย่าง ๆ ไป ด้วยศัพท์แม้ทั้งสอง 48,0026,002,ย่อมรวบรวมโภคะเช่นนั้น ที่ได้ในที่นั้น อันต่างโดยประณีตและประณีต 48,0026,003,กว่าเป็นต้น ครอบคลุมโดยไม่เหลือเลย จริงอยู่ นิเทศนี้ครอบคลุมความ 48,0026,004,ไว้ไม่เหลือ เหมือนที่ว่า เยเกจิ สงฺขารา สังขารทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง 48,0026,005,[ ทุกอย่าง ] . บทว่า มนโส ปิยา ได้แก่ ที่ใจพึงรัก อธิบายว่า น่าพอใจ. 48,0026,006,ก็ในข้อนี้ ด้วยบทว่า เอตาทิโส วณฺโณ นี้ พระเถระแสดง 48,0026,007,วัณณสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งวรรณะ อันนับเนื่องในอัตภาพของเทวดา 48,0026,008,นั้น ซึ่งมีความวิเศษที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ด้วยบทว่า โภคา นี้ 48,0026,009,พระเถระแสดงความถึงพร้อมแห่งกามคุณ อันต่างโดยรูป เสียง กลิ่น 48,0026,010,รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ซึ่งเป็นวัตถุเครื่องอุปโภคและบริโภค. ด้วย 48,0026,011,บทว่า มนโส ปิยา นี้ พระเถระแสดงความที่อารมณ์มีรูปเป็นต้น 48,0026,012,เหล่านั้น เป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. แต่ด้วยบทว่า อิธมิชฺฌติ 48,0026,013,นี้ พระเถระแสดงความถึงพร้อมแห่งอายุ วรรณะ ยศ สุข และอธิปไตย 48,0026,014,อันเป็นทิพย์ ด้วย บทว่า เยเกจิ มนโส ปิยา นี้ ฐานะอันใด ๑๐ ประการ 48,0026,015,ที่มาในพระสูตรว่า ผู้นั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งเทพเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐ 48,0026,016,คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ยศทิพย์ สุขทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ 48,0026,017,เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ พึงทราบว่า พระเถระ 48,0026,018,แสดงการรวบรวมฐานะอันนั้นไว้ในที่นี้ โดยไม่เหลือเลย. 48,0026,019,บทว่า ปุจฺฉามิ ได้แก่ ทำปัญหา อธิบายว่า ประสงค์จะรู้. 48,0026,020,รู้กันว่า พระเถระกล่าว ๓ คาถาว่า เกน เต ตาทิโส วณฺโณ เกน เต 48,0026,021,อิทฺธมิชฺฌติ กิมกาสิ ปุญฺํ เกนาสิ เอวญฺชลิตานุภาวา โดยถือเอากึศัพท์