Book,Page,LineNumber,Text 46,0049,001,ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุไม่มีกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดความกระวน 46,0049,002,กระวายบางอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งการยึดถืออุปาทานขันธ์ เพราะเหตุที่กิเลส 46,0049,003,เหล่านั้นตนละเสียได้แล้ว ด้วยอริยมรรค ภิกษุนั้นชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอก 46,0049,004,เสียได้ โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั่นเอง. 46,0049,005,แม้ในคาถาที่ว่า ยสฺส วนถชา เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบกิเลส 46,0049,006,ทั้งหลายที่เกิดจากป่า ดุจกิเลสทั้งหลายที่เกิดจากความกระวนกระวาย แต่ใน 46,0049,007,อรรถแห่งคำ มีแปลกกันดังต่อไปนี้ :- 46,0049,008,ธรรมชาติที่ชื่อว่าป่า ก็เพราะอรรถว่า ปรารถนาหรือต้องการ อธิบาย 46,0049,009,ว่า ย่อมจำนง คือ ย่อมขอ ย่อมคบ คำว่า วนะนี้ เป็นชื่อของตัณหา. 46,0049,010,จริงอยู่ ตัณหานั้น ท่านเรียกว่าวนะ เพราะปรารถนา คือ เพราะไหลออกมา 46,0049,011,แห่งอารมณ์ทั้งหลาย ตัณหา (วนะ) ย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจที่มีอารมณ์เป็น 46,0049,012,ปริยุฏฐาน (กลุ้มรุม) เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้นจึงชื่อว่า วนถะ คำว่า วนถะ นี้ 46,0049,013,เป็นชื่อแห่งตัณหานุสัย กิเลสทั้งหลายที่เกิดจากป่าคือตัณหา ชื่อว่า วนถชา 46,0049,014,แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กิเลสแม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า วนถะ เพราะ 46,0049,015,อรรถว่าเป็นเครื่องรกชัฏ ส่วนกิเลสที่เกิดขึ้นต่อ ๆ มา ชื่อว่า วนถชา ก็ใน 46,0049,016,ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อความในสุภสูตรเพียงเท่านี้ แต่เนื้อความนอกจากนี้ 46,0049,017,ตรงกับที่ตรัสไว้ในพระคาถาธรรมบท. 46,0049,018,สองบทว่า วินิพนฺธาย ภวาย ได้แก่เพื่อความผูกพันในภพ อีก 46,0049,019,อย่างหนึ่ง ความว่า เมื่อความผูกพันในอารมณ์ทั้งหลายแห่งจิต หรือเพื่อความ 46,0049,020,อุบัติขึ้นต่อไป เหตุนั่นเอง จึงชื่อว่า เหตุกัปปา.