Book,Page,LineNumber,Text 45,0044,001,สุตํ) ด้วยอำนาจเหตุแห่งการฟังและความแปลกกันแห่งการฟังดังพรรณนามา 45,0044,002,นี้. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงภาวะคือความเป็นไปในอารมณ์มี 45,0044,003,ประการต่าง ๆ เพราะวิญญาณวิถีทีเป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารรับเอาอรรถ 45,0044,004,และพยัญชนะต่าง ๆ กัน เพราะทำการอธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีความหมาย 45,0044,005,ถึงอาการ. บทว่า เม ประกาศถึงตน. บทว่า สุตํ ชื่อว่า ประกาศถึงธรรม 45,0044,006,เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์. 45,0044,007,ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ.) มิได้ 45,0044,008,ทำสิ่งอื่น คือ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมนี้ ด้วยวิญญาณวิถีที่เป็นไปในอารมณ์มี 45,0044,009,ประการต่าง ๆ อันเป็นตัวเหตุ. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงสิ่งที่ได้ 45,0044,010,แสดงมาแล้ว เพราะสิ่งที่จะพึงแสดงก็ไม่มีภาวะที่จะพึงแสดง (อีก) เพราะ 45,0044,011,อธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า 45,0044,012,ท่านเท้าถึงสูตรทั้งหมดด้วยอิติศัพท์. บทว่า เม ประกาศถึงบุคคล บทว่า 45,0044,013,สุตํ ประกาศถึงกิจของบุคคล. ก็กิริยาคือการฟังที่ได้มาด้วยเสียงที่ได้ยินมา 45,0044,014,เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสวนวิญญาณ (วิญญาณในการฟัง) ก็ในธรรมประพันธ์ 45,0044,015,(การเอ่ยถึงธรรม) ที่ประกอบด้วยการกล่าวถึงบุคคลนั้น ย่อมได้กิริยา คือ 45,0044,016,การฟัง. บทนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) จักแสดงอ้าง 45,0044,017,สูตรใด สูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. 45,0044,018,อนึ่ง บทว่า อิติ เป็นบทมีการรับเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ 45,0044,019,กัน เพราะความเป็นไปแห่งจิตสันดานใดที่มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน . บทว่า อิติ 45,0044,020,ก็แสดงถึงอาการต่าง ๆ กัน แห่งจิตสันดานนั้น เพราะทำอธิบายว่า อิติศัพท์ 45,0044,021,มีความหมายถึงอาการ. ด้วยว่าศัพท์ อิติ นี้ ชื่อว่า เป็นการบัญญัติถึงอาการ 45,0044,022,เพราะธรรมทั้งหลายมีสภาวะที่จะต้องบัญญัติ โดยอาศัยอาการคือความเป็นไป 45,0044,023,นั้น ๆ. บทว่า เม แสดงถึงกัตตา. บทว่า สุตํ แสดงถึงอารมณ์. เพราะ