Book,Page,LineNumber,Text 38,0043,001,ที่เขาพึงสั่งสอนได้ง่าย. บทว่า ขโม ได้แก่แม้ถูกว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย 38,0043,002,กักขฬะ ก็ทนได้ ไม่โกรธ. บทว่า ปทกฺขิณคฺคาหี อนุสาสนึ ความว่า 38,0043,003,ไม่การทำเหมือนบางคน ที่เมื่อถูกท่านโอวาทก็รับเอาข้างซ้าย [ไม่เคารพ] 38,0043,004,ตอบโต้หรือไม่ฟังเดินไปเสีย รับเอาเบื้องขวา [คือโดยเคารพ] ด้วยกล่าว 38,0043,005,ว่า โอวาทพร่ำสอนเถิดท่าน เมื่อท่านไม่โอวาท คนอื่นใครเล่าจักโอวาท 38,0043,006,ดังนี้. 38,0043,007,บทว่า อุจฺจาวจานิ แปลว่า สูงต่ำ. บทว่า กึกรณียานิ ได้แก่ 38,0043,008,กิจกรรมที่ถามอย่างนี้ว่า ผมจะทำอะไร แล้วกระทำ. บรรดากิจกรรมสูงต่ำ 38,0043,009,ชื่อว่ากิจกรรมสูง ได้แก่ กิจกรรม เช่นว่า ทำจีวร ย้อมจีวร โบกปูน 38,0043,010,พระเจดีย์ กิจกรรมที่จะพึงทำในโรงอุโบสถ เรือนพระเจดีย์ และเรือน 38,0043,011,โพธิ์ อย่างนี้เป็นต้น . ชื่อว่ากิจกรรมต่ำ ได้แก่กิจกรรมเล็กน้อย เช่น 38,0043,012,ล้างบาตร ทาน้ำมันเป็นต้น . บทว่า ตตฺรุปายาย ได้แก่อัน ดำเนินไปใน 38,0043,013,กิจกรรมนั้น. บทว่า อลํ กาตุํ แปลว่า เป็นผู้สามารถทำได้เอง. บทว่า 38,0043,014,อลํ สํวิธาตุํ แปลว่า ผู้สามารถจัดการได้. 38,0043,015,ภิกษุชื่อว่าธรรมกามะ เพราะมีความรักใคร่ธรรม อธิบายว่า 38,0043,016,ย่อมรักพระไตรปิฎกพุทธวจนะ. บทว่า ปิยสมุทาหาโร ความว่า เมื่อ 38,0043,017,ผู้อื่นกล่าวอยู่ ก็ฟังโดยเคารพ ทั้งตัวเองก็ใคร่จะแสดงแก่ผู้อื่น. ใน 38,0043,018,คำว่า อภิธมฺเม อภิวินเย นี้ พึงทราบ ๔ หมวด คือ ธรรม อภิธรรม 38,0043,019,วินัย อภิวินัย. ใน ๔ หมวดนั้น ชื่อว่า ธรรม ได้แก่พระสุตตันตปิฎก 38,0043,020,ชื่อว่า อภิธรรม ได้แก่ปกรณ์ทั้ง ๗. ชื่อว่า วินัย ได้แก่วิภังค์ทั้งสอง 38,0043,021,[ภิกขุวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์] ชื่อว่า อภิวินัย ได้แก่ขันธกะและบริวาร. 38,0043,022,อีกนัยหนึ่ง ทั้งสุตตันตปิฎก ทั้งอภิธัมมปิฎก ชื่อว่าธรรมทั้งนั้น. มรรคผล