Book,Page,LineNumber,Text 35,0022,001,บทว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัททั้ง ๘. บทว่า สีหนาทํ นทติ 35,0022,002,ความว่า เปล่งเสียงแสดงอำนาจอันประเสริฐสุด เสียงแสดงอำนาจของราชสีห์ 35,0022,003,หรือบันลือเสียงแสดงอำนาจเสมือนการแผดเสียงของราชสีห์. ความข้อนี้พึง 35,0022,004,แสดงด้วยสีหนาทสูตร. ราชสีห์ เขาเรียกว่า สีหะ เพราะอดทน และเพราะ 35,0022,005,ล่าเหยื่อ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้น เขาเรียกว่า สีหะ เพราะทรงอดทน 35,0022,006,โลกธรรมทั้งหลาย และเพราะทรงกำจัดลัทธิอื่น. การบันลือของสีหะที่ท่าน 35,0022,007,กล่าวอย่างนี้ เรียกว่า สีหนาท. ในสีหนาทนั้น ราชสีห์ประกอบด้วยกำลัง 35,0022,008,ของราชสีกล้าหาญในที่ทั้งปวง ปราศจากขนชูชัน บันลือสีหนาทฉันใด สีหะ 35,0022,009,คือ ตถาคตก็ฉันนั้น ประกอบด้วยกำลังของตถาคต เป็นผู้กล้าหาญในบริษัท 35,0022,010,ทั้ง ๘ ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาท อันประกอบด้วยความงดงาม 35,0022,011,แห่งเทศนามีอย่างต่าง ๆโดยนัยเป็นอาทิว่า อย่างนี้รูป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า 35,0022,012,ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ ดังนี้ . 35,0022,013,บทว่า พฺรหฺมํ ในบทว่า พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ นี้ ได้แก่ จักร 35,0022,014,อันประเสริฐสูงสุดหมดจด. ก็จักกศัพท์นี้ 35,0022,015,ย่อมใช้ในอรรถว่าสมบัติ ลักษณะ 35,0022,016,ส่วนแห่งรถ อิริยาบถ ทาน รตนจักร 35,0022,017,ธรรมจักร และอุรจักรเป็นต้น ในที่นี้ 35,0022,018,รู้กัน ว่า ใช้ในอรรถว่า ธรรมจักร พึงทำ 35,0022,019,ธรรมจักรให้ชัดแจ้ง แบ่งเป็นสองประการ. 35,0022,020,จริงอยู่ จักกศัพท์นี้ย่อมใช้ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า 35,0022,021,จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ 35,0022,022,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกอบพร้อมแล้ว 35,0022,023,ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า ลักษณะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ