Book,Page,LineNumber,Text
34,0050,001,ปญฺายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิห แปลว่า ดูก่อน
34,0050,002,ภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชา ไม่ปรากฏ ก่อนแต่นี้ อวิชชาไม่มี.
34,0050,003,อีกอย่างหนึ่ง กิเลสชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไป คือประสบสังสารทุกข์ต่อไป
34,0050,004,ดังนี้บ้าง. ก็ในจำนวนวิเคราะห์ทั้ง ๔ นี้ วิเคราะห์ต้น ๆ (วิเคราะห์ ๓ อย่าง
34,0050,005,ใช้ได้) ในที่ที่กิเลสทั้งหลายมา (โดยชื่อว่า) อาสวะ แต่วิเคราะห์หลังใช้ได้
34,0050,006,เฉพาะในกรรม. ก็กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น เป็นอาสวะก็หามิได้ โดย
34,0050,007,ที่แท้แล้ว ถึงอุปัทวนานัปการ ก็เป็นอาสวะได้. เพราะในพระสูตรทั้งหลาย
34,0050,008,กิเลสที่มีการวิวาทเป็นมูล มาแล้ว (โดยชื่อว่า) อาสวะ เช่นในประโยคนี้ว่า
34,0050,009,นาหํ จุนฺท ทิฏฺฐฺธมฺมิกานํเอว อาสวานํ สํวราย ธมฺมํ เทเสมิ
34,0050,010,แปลว่า แน่ะจุนทะ เราตถาคตจะไม่แสดงธรรมเพื่อปิดกั้น อาสวะทั้งหลาย
34,0050,011,ในปัจจุบันเท่านั้น.
34,0050,012,ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในภูมิ ๓ และอกุศลธรรมที่เหลือมาแล้ว (โดย
34,0050,013,ชื่อว่า) อาสวะ เช่นในประโยคนี้ว่า
34,0050,014,อาสวะทั้งหลายที่เป็นเหตุให้เข้าถึง
34,0050,015,ความเป็นเทวดา หรือเป็นเหตุให้เป็นคน-
34,0050,016,ธรรพ์ เหาะไปในอากาศ เป็นเหตุให้ถึง-
34,0050,017,ความเป็นยักษ์ เป็นมนุษย์และเป็นสัตว์เถิด
34,0050,018,ในน้ำ ของเราสิ้นแล้ว อาสวะเหล่านั้น
34,0050,019,เรากำจัดแล้ว ทำให้รากขาดแล้ว.
34,0050,020,อุปัทวนานัปการ มีการว่าร้ายผู้อื่น ก่อความวิปฏิสาร การฆ่า
34,0050,021,การจองจำเป็นต้นก็ดี เป็นเหตุให้ได้รับทุกข์ในอบายก็ดี มาแล้ว โดย
34,0050,022,ชื่อว่า อาสวะ. เช่นในประโยคนี้ว่า ทิฏฺธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย
34,0050,023,สมฺปรายิกานํ อาสวนํ ปฏิฆาตาย แปลว่า เราตถาคตแสดงธรรม