Book,Page,LineNumber,Text
34,0003,001,
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี
34,0003,002,ติกนิปาตวรรณนา
34,0003,003,พาลวรรควรรณนาที่ ๑
34,0003,004,อรรถกถาภยสูตร
34,0003,005,พึงทราบวินิจฉัยในภยสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-
34,0003,006,ในบทว่า ภยานิ เป็นต้น ความที่จิตสะดุ้งกลัว ชื่อว่า ภัย. อาการ
34,0003,007,ที่จิตไม่เป็นสมาธิ ชื่อว่า อุปัทวะ. อาการที่จิตติดขัด คืออาการที่จิตข้องอยู่
34,0003,008,ในอารมณ์นั้น ๆ ชื่อว่า อุปสรรค.
34,0003,009,พึงทราบความแตกต่างกันแห่งภัย อุปัทวะ และอุปสรรคเหล่านั้น
34,0003,010,ดังต่อไปนี้
34,0003,011,พวกโจรอาศัยอยู่ตามภูเขา และถิ่นทุรกันดาร ส่งข่าวไปถึงชาวชนบท
34,0003,012,ว่า พวกเราจักเข้าปล้นหมู่บ้านของพวกท่านในวันโน้น ตั้งแต่เวลาที่ได้สดับ
34,0003,013,ข่าวนั้น ชาวชนบทเหล่านั้นก็พากันหวาดกลัว. อาการอย่างนี้ ชื่อว่า อาการ
34,0003,014,ที่จิตสะดุ้งกลัว.
34,0003,015,ชาวชนบทก็พากันคิดว่า ทำอย่างไรดีเล่า พวกโจรโกรธพวกเราแล้ว
34,0003,016,จะพึงนำความฉิบหายมาให้เราเป็นแน่ ดังนี้แล้ว ฉวยคว้าทรัพย์สมบัติที่พอ
34,0003,017,หยิบฉวยติดมือไปได้ เข้าป่าพร้อมกับฝูงสัตว์ทวิบทจตุบาท นอนตามพื้นดิน
34,0003,018,อยู่ในป่านั้น ๆ ถูกแมลงมีเหลือบและยุงเป็นต้นกัด ก็พากันหลบเข้าไปยัง
34,0003,019,ระหว่างพุ่มไม้ เหยียบตอไม้และหนาม. ความฟุ้งซ่านของชาวชนบทเหล่านั้น
34,0003,020,ผู้ท่องเที่ยวไปอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า อาการที่จิตไม่เป็นสมาธิ.