Book,Page,LineNumber,Text 31,0013,001,

๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

31,0013,002,

ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕

31,0013,003,[๘๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ 31,0013,004,เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์. 31,0013,005,[๘๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ 31,0013,006,ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ 31,0013,007,พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น 31,0013,008,พระอรหันต์... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์. 31,0013,009,[๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน 31,0013,010,ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง 31,0013,011,กุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย 31,0013,012,อริยสาวกนั้นยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ 31,0013,013,ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น 31,0013,014,เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม 31,0013,015,ที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น 31,0013,016,เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิด 31,0013,017,ขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์. 31,0013,018,[๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม 31,0013,019,วินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตาม 31,0013,020,ระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อม 31,0013,021,พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา