Book,Page,LineNumber,Text
29,0044,001,สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าสุขนั่น ก็ข้อที่ปริพาชกอัญญเดียรถีย์
29,0044,002,พึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมกล่าวสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ
29,0044,003,ย่อมบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุข ข้อนี้นั้นเพราะเหตุไร ข้อนี้นั้นเป็น
29,0044,004,อย่างไร. นั้นเป็นฐานะที่จะมีได ้ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์มีวาทะอย่างนี้
29,0044,005,พวกเธอพึงค้านอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้
29,0044,006,ทรงหมายเอาสุขเวทนาบัญญัตินิโรธนั้นไว้ในความสุขเลย บุคคลย่อมได้สุข
29,0044,007,ในฐานะใด ๆ พระตถาคตย่อมทรงบัญญัติฐานะนั้น ๆ อันเป็นสุขไว้ใน
29,0044,008,ความสุขทุกแห่ง.
29,0044,009,จบ ปัญจกังคสูตรที่ ๙
29,0044,010,
อรรถกถาปัญจกังคสูตรที่ ๙
29,0044,011,พึงทราบวินิจฉัยในปัญจกังสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
29,0044,012,บทว่า ปญฺจกงฺโค ในบทว่า ปญฺจกงฺโค ปติ เป็นชื่อของช่างไม้นั้น
29,0044,013,อนึ่ง ช่างไม้นั้น ปรากฏชื่อว่าปัญจังคะ เพราะประกอบด้วยองค์ ๕ กล่าวคือ
29,0044,014,มีด ขวาน สิ่ว ไม้ ค้อน กระปุกด้ายเส้นบรรทัด. บทว่า ปติ คือช่างไม้ ผู้เป็น
29,0044,015,หัวหน้า บทว่า อุทายิ คือพระอุทายีเถระผู้บัณฑิต. บทว่า ปริยายํ คือเหตุ.
29,0044,016,บทว่า เทฺววานนฺท คือ ดูก่อนอานนท์ เวทนา ๒ ก็มี. บทว่า ปริยาเยน คือ
29,0044,017,โดยเหตุ. ส่วนในที่นี้ พึงทราบเวทนา ๒ ด้วยสามารถทางกายและทางจิต.
29,0044,018,แม้ เวทนา ๓ ด้วยสามารถสุขเป็นต้น. เวทนา ๕ มีสุขินทรีย์เป็นต้น ด้วย
29,0044,019,สามารถอินทรีย์. เวทนา ๖ มีจักขุสัมผัสสชาเป็นต้นด้วยสามารถทวาร.