Book,Page,LineNumber,Text
27,0015,001,ความเกิดของนามรูป ละสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับของนามรูป
27,0015,002,ละสัญญาในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัย ด้วยการเห็นนามรูปว่าเป็นภัย ละสัญญา
27,0015,003,ในอิสสาทะความยินดี ด้วยการเห็นอาทีนพโทษ ละสัญญาในอภิรติ
27,0015,004,ความยินดี ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความไม่อยากปล่อย ด้วย
27,0015,005,มุญจิตุกามยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละภาวะที่เป็น
27,0015,006,ปฏิโลมในธรรมฐิติญาณ และในนิพพานด้วยอนุโลมญาณ ละการยึดถือ
27,0015,007,นิมิตในสังขารด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
27,0015,008,อนึ่ง การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ ด้วยอุปจารสมาธิและ
27,0015,009,อัปปนาสมาธินั่นแล เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยการกั้นด้วยไม้
27,0015,010,โดยห้ามภาวะ คือความเป็นไปเสีย นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
27,0015,011,การละหมู่กิเลสที่เป็นฝักฝ่ายสมุทัย ที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า
27,0015,012,เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนโดยมรรคนั้นๆ เพราะทำอริยมรรค ๔
27,0015,013,ให้เกิด โดยมิให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปทาน. อนึ่ง
27,0015,014,การระงับกิเลสทั้งหลายในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
27,0015,015,พระนิพพานที่ละสังขตธรรมได้หมด เพราะสลัดสังขตธรรม
27,0015,016,ทั้งหมดได้ นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
27,0015,017,อีกอย่างหนึ่ง ปหานทั้งหมดนี้ เหตุที่ท่านเรียกว่า ปหาน เพราะ
27,0015,018,อรรถว่า สละ เรียกว่า วินัย เพราะอรรถว่า กำจัด ฉะนั้นท่านจึง
27,0015,019,เรียกว่า ปหานวินัย. อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้ท่านเรียกว่า ปหานวินัย
27,0015,020,เพราะมีการละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีการกำจัดกิเลสนั้นๆ แม้
27,0015,021,ปหานวินัย ก็พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้.
27,0015,022,วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง โดยประเภทมี ๑๐ อย่าง ย่อมไม่มี
27,0015,023,แก่ปุถุชนผู้ไม่ได้ศึกษานั้น เพราะเป็นผู้ทำลายสังวร และเพราะไม่ละ