Book,Page,LineNumber,Text 24,0048,001,แห่งคำพหูพจน์. และถือเอาความชอบใจในฌาน ความใคร่ในฌาน และความ 24,0048,002,สุขในฌานแล้ว จึงกล่าวว่า บุญทั้งหลายนำความสุขมาให้ดังนี้. 24,0048,003,ได้ยินว่า เทวดานั้น ได้มีความคิดว่า โอหนอ สัตว์ทั้งหลายเจริญ 24,0048,004,ฌานแล้ว มีฌานยังไม่เสื่อม กระทำกาละแล้ว พึงดำรงอยู่ในพรหมโลกตลอด 24,0048,005,เวลาอันยาวนาน คือประมาณ ๑ กัปบ้าง ๔ กัปบ้าง ๘ กัปบ้าง ๑๖ กัปบ้าง ๓๒ 24,0048,006,กัปบ้าง ๖๔ กัปบ้าง ดังนี้ เพราะตนเองเกิดในพรหมโลกที่มีอายุยาวนานจึง 24,0048,007,เห็นสัตว์ทั้งหลาย ผู้กำลังตาย กำลังเกิดที่มีอายุน้อยในเทวดาชั้นกามาวจรเบื้อง 24,0048,008,ต่ำ เช่นกับการตกลงแห่งเม็ดฝนพอถูกกระทบก็แตกไป เพราะฉะนั้น จึง 24,0048,009,กล่าวแล้วอย่างนี้. 24,0048,010,ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ก็เทวดานี้ ย่อมกล่าววัฎฏกถา 24,0048,011,(ถ้อยคำอันเป็นไปในวัฏฏะ) อันไม่เหมาะสม เมื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏกถาแก่ 24,0048,012,เทวดานั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๒. 24,0048,013,บรรดาบทแห่งคาถาที่ ๒ เหล่านั้น บทว่า โลกามิสํ ได้แก่โลกามิส 24,0048,014,๒ อย่าง คือปริยายโลกามิส (โลกามิสที่เป็นเหตุ) นิปปริยายโลกามิส (โลกามิส 24,0048,015,ที่ไม่เป็นเหตุ) วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เรียกว่า ปริยายโลกามิส. ปัจจัยคือ 24,0048,016,เครื่องอาศัย ๔ อย่าง เรียกว่า นิปปริยายโลกามิส. ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา 24,0048,017,ปริยายโลกามิส อันที่แท้ แม้นิปปริยายโลกามิสก็ควรในที่นี้เหมือนกัน. 24,0048,018,บทว่า สนฺติเปกฺโข อธิบายว่ามุ่งอยู่ ต้องการอยู่ ปรารถนาอยู่ซึ่ง 24,0048,019,สันติอันยั่งยืนกล่าวคือพระนิพพาน. 24,0048,020,จบอรรถกถาอุปเนยยสูตรที่ ๓