Book,Page,LineNumber,Text 24,0034,001,โลภทิฏฐิคตวิปปยุต ๔ ดวง. ทิฎโฐฆะ ย่อมเกิดขึ้นในจิตตุปบาทอันสัมปยุต 24,0034,002,ด้วยทิฏฐิคตะ ๔ ดวง. อวิชโชฆะ. ย่อมเกิดขึ้นในอกุศลทั้งปวง. 24,0034,003,ก็ธรรมทั้งหมดนี้ ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป 24,0034,004,และเพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำสัตว์ไป 24,0034,005,อธิบายว่า เป็นเหตุให้ตกไปในเบื้องต่ำ. จริงอยู่ โอฆะนี้ย่อมยังสัตว์ทั้งหลาย 24,0034,006,ที่อยู่ในอำนาจของตนให้ตกไปในเบื้องต่ำ คือ ให้เกิดในทุคติต่าง ๆ มีนรก 24,0034,007,เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อไม่ให้ไปในเบื้องบน คือ พระนิพพาน ย่อมให้ 24,0034,008,ไปในเบื้องต่ำ คือ ในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ และสัตตาวาส ๙ 24,0034,009,ดังนี้บ้าง. คำว่า เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ อธิบายว่า เพราะหมู่แห่งกิเลส 24,0034,010,นี้ใหญ่แผ่กระจายอำนาจไปตั้งแต่อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคภูมิ หมู่แห่งกิเลสคือ 24,0034,011,โอฆะนี้ใด ชื่อว่า มีความยินดีพอใจในกามคุณ ๕ แม้ในโอฆะที่เหลือก็นัย 24,0034,012,นี้แหละ. บัณฑิตพึงทราบกิเลสชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าเป็นหมู่ใหญ่ 24,0034,013,ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อตริ อธิบายว่า เทวบุตรนั้น ทูลถามว่า ข้าแต่ 24,0034,014,พระองค์ผู้นิรทุกข์ พระองค์ข้ามโอฆะแม้ทั้ง ๔ นี้ด้วย อย่างไรหนอ ดังนี้. 24,0034,015,ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาของเทวดานั้น จึง 24,0034,016,ตรัสคำ เป็นต้น ว่า อปฺปติฏฺ€ํ ขฺวาหํ แปลว่า เราไม่พักอยู่เป็นต้น. บรรดา 24,0034,017,บทเหล่านั้น บทว่า อปฺปติฏฺ€ํ แก้เป็น อปฺปติฏฺ€หนฺโต แปลว่า 24,0034,018,ไม่พักอยู่. บทว่า อนายูหํ แก้เป็น อนายูหนฺโต แปลว่า ไม่เพียรอยู่ 24,0034,019,คือ ไม่พยายามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญหากระทำให้เป็นคำอันลี้ลับ 24,0034,020,ปิดบังแล้ว ด้วยประการฉะนี้. 24,0034,021,แม้เทวดาก็ฟังคำอันเป็นภายนอกก่อน ธรรมดาว่า บุคคลผู้ข้ามโอฆะ 24,0034,022,ต้องยืนอยู่ในที่อันตนควรยืน ต้องพยายามในที่อันตนพึงข้ามจึงข้ามไปได้ แต่ 24,0034,023,พระองค์ตรัสว่า เราไม่พักอยู่ ไม่เพียรอยู่ ข้ามได้แล้วซึ่งกองกิเลส คือกิเลส