Book,Page,LineNumber,Text 24,0014,001,เพราะความบริสุทธิ์แห่งปโยคะนั้น ท่านจึงเป็นผู้เฉลียวฉลาดยิ่งในพระปริยัติ. 24,0014,002,ด้วยเหตุนี้ ถ้อยคำของท่านพระอานนท์ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์แล้ว ผู้ 24,0014,003,สมบูรณ์แล้วด้วยการบรรลุมรรคผล ย่อมสมควรเพื่อเป็นถ้อยคำเบื้องต้นสำหรับ 24,0014,004,รองรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการขึ้นไปแห่งอรุณ 24,0014,005,เป็นเบื้องต้น แห่งพระอาทิตย์กำลังอุทัยอยู่ และเปรียบเหมือน โยนิโสมนสิการ 24,0014,006,เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เหตุดังนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อจะเริ่ม 24,0014,007,ตั้งคำอันเป็นนิทานในฐานะอันควร จึงกล่าว บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น. 24,0014,008,อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ อรรถ 24,0014,009,ปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตนด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดได้ 24,0014,010,โดยประการต่าง ๆ ว่า เอวํ นี้. ท่านย่อมแสดงภาวะสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา 24,0014,011,และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำอันแสดงถึงการแทงตลอดประเภทแห่งธรรมอัน 24,0014,012,บุคคลพึงสดับฟังว่า สุตํ นี้. 24,0014,013,อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อจะกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงโยนิโสมนสิการ 24,0014,014,ด้วย เอวํ นี้. จึงแสดงว่า ธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าเพ่งด้วยใจ ข้าพเจ้าแทงตลอด 24,0014,015,ดีแล้วด้วยทิฏฐิ ดังนี้. เมื่อกล่าวถ้อยคำอันแสดงถึงการประกอบการฟังด้วย 24,0014,016,สุตํ นี้ จึงแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว ทรงจำไว้แล้ว 24,0014,017,สั่งสมไว้แล้วด้วยปัญญา ดังนี้. เมื่อท่านจะแสดงอรรถและพยัญชนะให้บริบูรณ์ 24,0014,018,ด้วยคำแม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมให้การเอื้อเฟื้อในการที่จะให้การฟังเกิดขึ้น เพราะว่า 24,0014,019,เมื่อบุคคลไม่ฟังธรรมอันบริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อเคารพย่อม 24,0014,020,เป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลอันใหญ่ เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงให้ความ 24,0014,021,เอื้อเฟื้อเคารพในการฟังธรรมให้เกิดขึ้นเถิด. 24,0014,022,อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุตํ นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้ง 24,0014,023,ธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้วไว้สำหรับตน จึงชื่อว่า ย่อมก้าวล่วงภูมิของ