Book,Page,LineNumber,Text
24,0010,001,แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา แต่ในที่นี้
24,0010,002,ควรใช้ในอรรถ ๒ อย่างคือ มยา สุตํ แปลว่า ข้าพเจ้าสดับแล้ว และ
24,0010,003,มม สุตํ แปลว่า การสดับของข้าพเจ้า.
24,0010,004,
ว่าด้วย สุต ศัพท์
24,0010,005,สุต ศัพท์ในบทว่า สุตํ นี้เป็นทั้งศัพท์มีอุปสรรคและไม้มีอุปสรรค
24,0010,006,จำแนกอรรถได้มิใช่น้อย เช่นอรรถว่า การไป ว่าปรากฏแล้ว ว่ากำหนัด ว่า
24,0010,007,สั่งสม ว่าขวนขวาย ว่าสัททารมณ์ ที่รู้ได้ด้วยโสต และรู้ตามแนวแห่งโสต
24,0010,008,ทวารเป็นต้น. จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นี้มีอรรถว่าไป ในประโยคว่า เสนาย
24,0010,009,ปสุโต เป็นต้น แปลว่า เสนาเคลื่อนไป สุตศัพท์มีอรรถว่ามีธรรมอันปรากฏ
24,0010,010,แล้ว ในประโยคว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต เป็นต้น แปลว่ามีธรรมอันสดับ
24,0010,011,แล้ว เห็นอยู่. สุตศัพท์มีอรรถว่า เปียกชุ่มด้วยราคะและไม่เปียกชุ่มด้วยราคะ
24,0010,012,เช่นในประโยคว่า อวสฺสุตา อนวสฺสุตสฺส เป็นต้น แปลว่า ภิกษุณีกำหนัด
24,0010,013,ยินดีแล้วต่อบุคคลผู้ไม่กำหนัดยินดีแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่าสั่งสม ในประโยคว่า
24,0010,014,ตุมฺเหหิ ปุญฺํ ปสุตํ อนปฺปกํ เป็นต้น แปลว่า บุญมิใช่น้อย อันท่านทั้งหลาย
24,0010,015,สั่งสมแล้ว. สุตศัพท์มีอรรถว่า ขวนขวายคือการประกอบเนืองๆ ในฌาน เช่น
24,0010,016,ประโยคว่า เย ฌานปสุตา ธีรา เป็นต้น แปลว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่าใด
24,0010,017,ขวนขวายแล้วในฌาน. สุตศัพท์มีอรรถว่า สัททารมณ์ อันบุคคลพึงรู้ด้วยโสต
24,0010,018,เช่น ในประโยคว่า ทิฏฺํ สุตํ มุตํ เป็นต้น แปลว่า รูปอันเราเห็นแล้ว
24,0010,019,เสียงอันเราฟังแล้ว หมวดสามแห่งธรรมอันเราทราบแล้ว.
24,0010,020,สุต ศัพท์นี้ มีอรรถว่ารู้ตามแนวแห่งโสตทวาร และทรงจำตามที่ตน
24,0010,021,รู้แล้ว ดังในประโยคว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย เป็นต้น แปลว่า ทรงไว้
24,0010,022,ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ แต่ในที่นี้มีอรรถว่าเข้าไปทรงไว้แล้ว หรือว่า การ