Book,Page,LineNumber,Text
23,0032,001,ของตน. บทว่า สมฺปชาโน โหติ ความว่า รู้สึกตัว โดยรู้ว่ากัมมัฏฐาน
23,0032,002,ยังไม่สมบูรณ์. บทว่า พหิทฺธา ได้แก่ ในเบญจขันธ์ของผู้อื่น. บทว่า
23,0032,003,อชฺฌตฺตพหิทฺธา ความว่า บางครั้งภายใน บางครั้งภายนอก. บทว่า อเนญฺชํ
23,0032,004,ความว่า ใส่ใจ อเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.
23,0032,005,บทว่า ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท. ก็เมื่อภิกษุ
23,0032,006,นั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายใน
23,0032,007,จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้นใส่ใจไปในภายนอกว่า ใน
23,0032,008,สันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ. จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัติ นั้น.
23,0032,009,แต่นั้น ใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร
23,0032,010,ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตา
23,0032,011,สมาบัตินั้น. แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติ
23,0032,012,ว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชา-
23,0032,013,สมาบัตินั้น. ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงพระพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า
23,0032,014,บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แค่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดี
23,0032,015,อย่างเดียว. เพื่อจะทรงแสดงว่า การใส่ใจพระกัมมัฏฐานย่อมแล่นไปสะดวก
23,0032,016,เหมือนบุรุษจะตัดไม้ เมื่อขวานวิ่น ต้องลับขวานเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัด
23,0032,017,ขวานจึงจะคม ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺมิญฺเว ดีนี้.
23,0032,018,บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ การใส่ใจใน
23,0032,019,สมาบัตินั้น ๆ ย่อมสมบูรณ์ จึงตรัสว่า ปกฺขนฺทติ. บทว่า อิมินา วิหาเรน
23,0032,020,ได้แก่ด้วยวิหารธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า อิติ ตตฺถ สมฺปชาโน
23,0032,021,ความว่า แม้เมื่อกำลังเดินจงกรมอยู่ ก็รู้ชัดว่า เมื่อกัมมัฏฐานนั้น สมบูรณ์
23,0032,022,กัมมัฏฐานของเราก็สมบูรณ์. บทว่า สยติ แปลว่า ย่อมนอน. ในข้อนี้
23,0032,023,ความว่า ภิกษุจะเดินจงกรมเวลาไหน ๆ ก็รู้ว่า บัดนี้เราอาจเดินจงกรมได้