Book,Page,LineNumber,Text 17,0025,001,อนึ่ง ในข้อนี้ พระเถระแสดงความไม่โง่เขลา ด้วยคำว่า เอวํ 17,0025,002,อธิบายว่า ผู้โง่เขลาย่อมไม่สามารถแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ ได้. 17,0025,003,ด้วยคำว่า สุตํ พระเถระแสดงความไม่หลงลืมพระพุทธพจน์ที่ได้ฟัง 17,0025,004,มาแล้ว อธิบายว่า สุตะ ที่ผู้ใดหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมนึกไม่ออกว่าเรา 17,0025,005,ได้ฟังมาแล้วโดยกาลอื่น. ความสำเร็จแห่งปัญญาของพระเถระนั้น ย่อมมี 17,0025,006,ได้ เพราะความไม่โง่เขลา ส่วนความสำเร็จแห่งสติ ย่อมมีได้เพราะ 17,0025,007,ความไม่หลงลืม. บรรดา ๒ อย่างนั้น ความสามารถในการทรงจำ 17,0025,008,พยัญชนะ มีได้ด้วยสติ มีปัญญาเป็นตัวนำ ความสามารถในการเข้าใจ 17,0025,009,อรรถ มีได้ด้วยปัญญามีสติเป็นตัวนำ ความสำเร็จเป็นขุนคลังแห่ง 17,0025,010,ธรรม โดยสามารถในการเก็บรักษาคลัง ธรรมที่ถึงพร้อมด้วยอรรถ 17,0025,011,และพยัญชนะมีได้เพราะประกอบด้วยความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น. 17,0025,012,อีกนัยหนึ่ง ด้วยคำว่า เอวํ ท่านพระเถระแสดงการทำไว้ในใจ 17,0025,013,โดยแยบคาย เพราะบุคคลผู้ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย จะไม่มีการแทง 17,0025,014,ตลอดประการต่าง ๆ. ด้วยคำว่า สุตํ ท่านแสดงความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะ 17,0025,015,บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะไม่เป็นอันฟัง. จริงอย่างนั้น บุคคลที่มีจิตฟุ้งซ่าน 17,0025,016,แม้ถูกบอกด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง ก็ยังกล่าวว่า ข้าพเจ้าฟังไม่ถนัด ขอ 17,0025,017,ท่านพูดอีกที. ก็ในข้อนี้ เพราะการฟังโดยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย 17,0025,018,บุคคลย่อมยังการตั้งตนไว้โดยชอบ และความเป็นผู้มีบุญทำไว้ในปางก่อน 17,0025,019,ให้สำเร็จได้ เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้โดยชอบ และไม่ได้ทำบุญไว้ใน 17,0025,020,ปางก่อน ไม่มีการทำไว้ในใจโดยแยบคายนั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน 17,0025,021,บุคคลจึงยังการฟังพระสัทธรรม และการเข้าไปคบสัตบุรุษให้สำเร็จ. 17,0025,022,จริงอยู่ บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่อาจที่จะฟัง (ธรรมได้) และการฟัง