Book,Page,LineNumber,Text
15,0037,001,คำว่า สุนกฺขตฺโต ลิจฺฉวิปุตฺโต ได้แก่ พระราชโอรสของ
15,0037,002,กษัตริย์ลิจฉวี ทรงพระนามว่า สุนักขัตตะ. ได้ยินว่า พระราชโอรสพระ
15,0037,003,องค์นั้นเป็นสหายคฤหัสถ์ขอฉันนปริพาชกนั้น ได้เสด็จมาสู่สำนักของ
15,0037,004,ปริพาชกนั้น ในบางครั้งบางคราว. คำว่า ปจฺจกฺขาโต ได้แก่ บอกคืน
15,0037,005,คือสละ ละทิ้ง ด้วยกล่าวถ้อยคำอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพเจ้า
15,0037,006,บอกคืนพระผู้มีพระภาค บัดนี้ ข้าพเจ้าจะไม่ขออยู่ อุทิศพระผู้มีพระภาค
15,0037,007,เจ้า. คำวา ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส ได้แก่ แสดงอ้างอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระ
15,0037,008,ภาคเป็นศาสดาของเรา เราจะปฏิบัติตามโอวาทของพระผู้มีพระภาค.
15,0037,009,คำว่า โกสนฺโต กํ ความว่าพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงว่า ผู้ขอ
15,0037,010,พึงบอกคืนผู้ถูกขอ หรือว่าผู้ถูกขอพึงผู้ขอแต่ว่าเธอมิใช่ทั้งผู้ขอและ
15,0037,011,ผู้ถูกขอ ดูก่อนโมฆบุรุษ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจะเป็นใคร บอกคืนใครเล่า.
15,0037,012,คำว่า ปสฺส โมฆปุริส แปลว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ เธอจงดู. คำว่า ยาวญฺจ
15,0037,013,เต อิทํ อปรทิธํ แปลว่า เรื่องนี้ เป็นความผิดของเธอมากเพียงใด. พระ
15,0037,014,ผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า เราขอยกโทษที่มีอยู่อย่างนี้ว่า เธอมีความผิดเพียง
15,0037,015,ใด ก็มีโทษเพียงนั้น.
15,0037,016,บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา แปลว่า ยิ่งยวดกว่าธรรมของมนุษย์
15,0037,017,ได้แก่ศีล ๕ และศีล ๑๐. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ได้แก่ ปาฏิหาริย์
15,0037,018,เป็นฤทธิ์. บทว่า กเต วา แปลว่า ได้ทำแล้วก็ตาม. บทว่า ยสฺสตฺถาย
15,0037,019,ได้แก่ เพื่อประโยชน์แห่งความสิ้นทุกข์ใด. ด้วยคำว่า โส นิยฺยาติ
15,0037,020,ตกฺกรสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ธรรมนั้นย่อมไป คือเป็นไป
15,0037,021,เพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวง ได้แก่เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอมตนิพพาน
15,0037,022,แก่ผู้กระทำตามธรรมนั้น คือผู้กระทำตามธรรมที่เราแสดงไว้ ได้แก่บุคคล
15,0037,023,ผู้ปฏิบัติชอบ. หรือด้วยคำว่า ตตฺร สุนกฺขตฺต เป็นต้น พระผู้มีพระภาค
15,0037,024,เจ้าทรงแสดงความไร้ประโยชน์แห่งปาฏิหาริย์ว่า ดูก่อนสุนักขัตตะเมื่อธรรม