Book,Page,LineNumber,Text 06,0023,001,สองบทว่า สุโข วิเวโก มีความว่า อุปธิวิเวก กล่าวคือ นิพพาน 06,0023,002,เป็นสุข. 06,0023,003,บทว่า ตุฏฺ€สฺส มีความว่า ผู้สันโดษด้วยความยินดีในจตุมรรคญาณ. 06,0023,004,บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่ ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว. 06,0023,005,บทว่า ปสฺสโต มีความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งวิเวกนั้น หรือธรรม 06,0023,006,อย่างใดย่างหนึ่งซึ่งจะพึงเห็นได้ทั้งหมด ด้วยดวงตาคือญาณ ซึ่งได้บรรลุ 06,0023,007,ด้วยกำลังความเพียรของตน. 06,0023,008,ความไม่เกรี้ยวกราดกัน ชื่อว่าความไม่เบียดเบียนกัน. 06,0023,009,ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย 06,0023,010,บทว่า ความไม่เบียนเบียดนั้น. 06,0023,011,สองบทว่า ปาณภูเตสุ สญฺโม มีความว่า และความสำรวม 06,0023,012,ในสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า ความที่ไม่เบียดเบียนกัน เป็นความสุข. 06,0023,013,ธรรมเป็นส่วนเบื้องต้น แห่งกรุณา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วย 06,0023,014,บทว่า ความสำรวมนั้น. 06,0023,015,บาทคาถาว่า สุขา วิราคตา โลเก มีดวามว่า แม้ความปราศจาก 06,0023,016,กำหนัด ก็จัดเป็นความสุข. 06,0023,017,ถามว่า ความปราศจากกำหนัดเป็นเช่นไร ? 06,0023,018,ตอบว่า คือความล่วงกามทั้งหลายเสีย. 06,0023,019,อธิบายว่า ความปราศจากกำหนัดอันใด ที่ท่านเรียกว่าความล่วงกาม 06,0023,020,ทั้งหลายเสีย แม้ความปราศจากกำหนัดอันนั้น ก็จัดเป็นความสุข. อนาคามิ- 06,0023,021,มรรค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบทว่า ความปราศจากกำหนัดนั้น.