Book,Page,LineNumber,Text 05,0045,001,แต่เมื่อพวกตุลาการ ฟังถ้อยแถลงของคนทั้ง ๒ ฝ่ายที่แถลงให้การไป 05,0045,002,โดยประการอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำการตัดสินแล้ว คดีเป็นอันถึงที่สุด. ในคดี 05,0045,003,ที่ถึงที่สุดนั้น ภิกษุณีจะชนะคดีก็ตาม แพ้ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส. 05,0045,004,แต่ถ้าว่า อธิกรณ์ที่ดำเนินเป็นคดีกันแล้ว เป็นเรื่องที่พวกตุลาการเคย 05,0045,005,ได้ทราบมาก่อน ถ้าพวกตุลาการเหล่านั้น พอเห็นภิกษุณีและผู้ก่อคดี จึง 05,0045,006,กล่าวว่า ไม่มีกิจที่จะต้องสอบสวนพวกท่าน พวกเรารู้เรื่องนี้ แล้วจึงตัดสิน 05,0045,007,ให้เสียเองทีเดียว. แม้ในคดีถึงที่สุดเห็นปานนี้ก็ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุณี. 05,0045,008,สังฆาทิเสสนี้ มีการต้องแต่แรกทำ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฐมาปัต- 05,0045,009,ตกะ. ความว่า พึงต้องในขณะที่ล่วงละเมิดนั่นเอง. ซึ่งสังฆาทิเสสนั้น มีอัน 05,0045,010,อาบัติขณะแรกทำ. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดงแต่เพียงความประสงค์ พระผู้มี 05,0045,011,พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงวัตถุ โดยไม่ต้องสวดสมนุ- 05,0045,012,ภาส. 05,0045,013,ก็ในคำนี้ มีใจความดังต่อไปนี้ :- ภิกษุณีต้องอาบัติพร้อมกับการ 05,0045,014,ล่วงละเมิดวัตถุ ไม่ใช่ในเวลาสวดสมนุภาสครั้งที่ ๓ สังฆาทิเสสนี้ชื่อว่า 05,0045,015,ปฐมาปัตติกะ เพราะจะพึงต้องพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ ตั้งแต่แรก 05,0045,016,ทีเดียวแล. 05,0045,017,สังฆาทิเสสนี้ ชื่อว่า นิสสารณียะ เพราะอรรถว่า ขับออกจากหมู่ 05,0045,018,ภิกษุณี. ซึ่งสังฆาทิเสสมีการขับออกจากหมู่นั้น. แต่ในบทภาชนะ เพื่อแสดง 05,0045,019,แต่เพียงความประสงค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สงฺฆมฺหา นิสฺสารียติ. 05,0045,020,ในบทว่า นิสฺสารณียํ นั้น บัณฑิตพึงเห็นใจความอย่างนี้ว่า ภิกษุณีต้อง 05,0045,021,สังฆาทิเสสใด ถูกขับไล่ออกจากหมู่ สังฆาทิเสสนั้นชื่อว่า นิสสารณียะ. 05,0045,022,จริงอยู่ ธรรม คือ อาบัตินั้นใครจะขับออกจากหมู่ไม่ได้เลย แต่ภิกษุณีถูก 05,0045,023,ธรรมนั้นขับออกไป เพราะฉะนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า นิสสารณียะ ด้วย 05,0045,024,อรรถว่า ขับออก.