|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
50,0029,001,อีกนัยหนึ่ง ในบทว่า <B>ยถาโคตฺตา</B> นี้ ท่านแสดงถึงความถึงพร้อม
|
|
50,0029,002,ด้วยโยนิโสมนสิการ ของพระเถระเหล่านั้น ด้วยการระบุถึงโคตร เพราะผู้ที่
|
|
50,0029,003,สมบูรณ์ด้วยโคตรตามที่กล่าวแล้ว จึงจะเกิดโยนิโสมนสิการ.
|
|
50,0029,004,ด้วยศัพท์ว่า <B>ธัมมวิหาระ</B> ในบทว่า <B>ยถาธมฺมวิหาริโน</B> นี้ ท่าน
|
|
50,0029,005,แสดงถึงการถึงพร้อมด้วยการฟังพระสัทธรรม เพราะเว้นจากการฟังธรรม
|
|
50,0029,006,เสียแล้ว จะไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่นั้นได้เลย. แสดงถึงการปฏิบัติธรรม
|
|
50,0029,007,สมควรแก่ธรรมถึงที่สุด ด้วยบทว่า <B>ยถาธิมุตฺตา</B> นี้ แสดงถึงความเป็นผู้มี
|
|
50,0029,008,สัมปชัญญะในที่ทั้งปวง ด้วยบทว่า <B>สปฺปญฺญา</B> นี้ แสดงถึงผู้ที่บำเพ็ญ
|
|
50,0029,009,อัตหิตสมบัติให้บริบูรณ์ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ดำรงอยู่ จะเป็นผู้ไม่ลำบากใน
|
|
50,0029,010,การปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ด้วยบทว่า <B>อตนฺทิตา</B> นี้.
|
|
50,0029,011,อนึ่ง แสดงถึงความสมบูรณ์ด้วยสรณคมน์ ของพระเถระเหล่านั้น
|
|
50,0029,012,ด้วยบทว่า <B>ยถาโคตฺตา</B> นี้ เพราะระบุถึงเหล่าพระอริยเจ้า ผู้สัทธานุสารี.
|
|
50,0029,013,แสดงสมาธิขันธ์ อันเป็นประธานของสีลขันธ์ ด้วยบทว่า <B>ยถาธมฺมวิหาริโน</B> นี้.
|
|
50,0029,014,ก็คุณของพระสาวกทั้งหลาย มีสรณคมน์ เป็นเบื้องต้น มีสมาธิเป็น
|
|
50,0029,015,ท่ามกลาง มีปัญญาเป็นปริโยสาน เพราะฉะนั้น คุณของพระสาวกแม้ทั้งหมด
|
|
50,0029,016,จึงเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยการแสดงคุณในเบื้องต้น ท่ามกลางและปริโยสาน.
|
|
50,0029,017,ก็สมบัติแห่งคุณ เช่นนี้ อันพระเถระเหล่านั้นบรรลุแล้วด้วยสัมมา-
|
|
50,0029,018,ปฏิบัติใด เพื่อจะแสดงสัมมาปฏิบัตินั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า <B>ตตฺถ ตตฺถ-
|
|
50,0029,019,วิปสฺสิตฺวา</B> ดังนี้.
|
|
50,0029,020,บทว่า <B>ตตฺถ ตตฺถ</B> ได้แก่ ในเสนาสนะอันสงัดแล้วมีป่า โคนไม้
|
|
50,0029,021,และภูเขาเป็นต้นนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า <B>ตตฺถ ตตฺถ</B> ได้แก่ ในเวลา
|
|
50,0029,022,แห่งอุทาน เป็นต้นนั้น ๆ.
|
|
|