tripitaka-mbu / 49 /490020.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
49,0020,001,เปรตถูกพระเถระถามอย่างนี้ ครั้นแก้คำถามนั้นแล้ว เมื่อ
49,0020,002,จะทำความนั้นนั่นแหละให้เป็นเหตุแล้วตักเตือนพระเถระ จึงกล่าว
49,0020,003,คาถาว่า :-
49,0020,004,<B>ข้าแต่ท่านพระนารทะ เพราะเหตุนั้น
49,0020,005,ข้าพเจ้าขอกล่าวแก่ท่าน สรีระของข้าพเจ้า ท่าน
49,0020,006,เห็นเองแล้ว ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่า
49,0020,007,ให้หน้าสุกรเกิดมีแก่ท่านเลย.</B>
49,0020,008,บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า <B>ตํ</B> แก้เป็น <B>ตสฺมา</B> แปลว่า
49,0020,009,เพราะเหตุนั้น. บทว่า <B>ติยาหํ</B> ตัดเป็น <B>เต อหํ.</B> เปรตเรียกพระเถระ
49,0020,010,ด้วยคำว่า <B>นารทะ.</B> บทว่า <B>พฺรูมิ</B> แปลว่า ข้าพเจ้าจะบอก. บทว่า
49,0020,011,<B>สามํ</B> แปลว่า ข้าพเจ้าเอง. ด้วยบทว่า <B>อิทํ</B> เปรตกล่าวหมายถึง
49,0020,012,ร่างกายของตน. ก็ในคำนี้มีอธิบายดังนี้ ข้าแต่ท่านพระนารทะผู้เจริญ
49,0020,013,เพราะเหตุที่ร่างกายของข้าพเจ้านี้ ตั้งแต่คอลงไปถึงกายท่อนล่าง
49,0020,014,มีทรวดทรงเหมือนมนุษย์ กายท่อนบน มีทรวดทรงเหมือนสุกร
49,0020,015,ที่ท่านเห็นประจักษ์อยู่นั่นแหละ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า จะขอกล่าว
49,0020,016,เตือนท่าน. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า เธอกล่าวอย่างไร ? เปรต
49,0020,017,จึงกล่าวว่า ขอท่านอย่าได้ทำบาปด้วยปาก อย่าให้หน้าสุกรเกิด
49,0020,018,มีแก่ท่านเลย.
49,0020,019,บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า <B>มา</B> เป็นนิบาตใช้ในอรรถ
49,0020,020,ปฏิเสธ. บทว่า <B>มุขสา</B> แปลว่า ด้วยปาก. ศัพท์ว่า <B>โข</B> ใช้ในอวธารณะ
49,0020,021,"ห้ามเนื้อความอื่น, อธิบายว่า ท่านอย่าได้ทำ คือ จงอย่าทำธรรมชั่ว"