|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
46,0050,001,คำว่า <B>นิวรณ์</B> ในคาถานี้ว่า <B>โย นีวรเณ</B> เป็นต้น มีวิเคราะห์ว่า
|
|
46,0050,002,ที่ชื่อว่านิวรณ์ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมทำจิตให้เดือนร้อน อธิบายว่า
|
|
46,0050,003,เป็นเครื่องปกปิดจิต.
|
|
46,0050,004,บทว่า <B>ปหาย</B> ได้แก่ ทิ้งเสีย.
|
|
46,0050,005,บทว่า <B>ปญฺจ</B> เป็นการกำหนดนับนิวรณ์เหล่านั้น ภิกษุที่ชื่อว่า
|
|
46,0050,006,ไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีความทุกข์ ที่ชื่อว่าข้ามความสงสัยเสียได้ เพราะตนข้าม
|
|
46,0050,007,ความสงสัยได้แล้ว ที่ชื่อว่ามีลูกศรออกแล้ว เพราะเป็นผู้มีลูกศรไปปราศแล้ว
|
|
46,0050,008,ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุใด
|
|
46,0050,009,เห็นนิวรณ์ทั้งห้า มีกามฉันท์เป็นต้น และเห็นโทษในนิวรณ์ทั้งหลาย โดย
|
|
46,0050,010,ความเป็นของเสมอกันและโดยพิเศษ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน
|
|
46,0050,011,สมันตรภัตรกสูตร จึงละ (นิวรณ์เหล่านั้น) ได้ด้วยมรรคนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นผู้
|
|
46,0050,012,ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่มีแห่งทุกข์ คือ กิเลสทุกข์ เพราะเหตุที่ตนละนิวรณ์
|
|
46,0050,013,เหล่านั้นได้แล้วนั่นเอง ชื่อว่า ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ เพราะท่านข้ามพ้น
|
|
46,0050,014,ความสงสัยที่เป็นไปแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า ในอดีตกาลนานมาแล้ว เราได้
|
|
46,0050,015,เป็นแล้วหรือหนอ ชื่อว่าสลัดลูกศรเสียได้ เพราะท่านปราศจากลูกศรทั้งห้า
|
|
46,0050,016,ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในบรรดาลูกศรเหล่านั้น ลูกศร ๕ อย่างเป็นไฉน ๕ อย่าง
|
|
46,0050,017,คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศร
|
|
46,0050,018,คือทิฏฐิ ภิกษุนั้นชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้
|
|
46,0050,019,แล้วในตอนต้นนั่นเอง.
|
|
46,0050,020,แม้ในพระคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบการละนิวรณ์ ๒ อย่างเช่นกัน
|
|
46,0050,021,คือ โดยลำดับกิเลส ๑ โดยลำดับแห่งมรรค ๑.
|
|
|