|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
45,0037,001,ด้วยอำนาจสมยวิมุตตินัยเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจกุสล-
|
|
45,0037,002,นัยเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานนัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
|
|
45,0037,003,นานานัย (มีนัยต่าง ๆ กัน ). ความหมายที่ชื่อว่า ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
|
|
45,0037,004,เพราะหมายความว่า ละเอียด คือ ละเอียดอ่อน ได้แก่สุขุม ด้วยนัยเหล่านั้น.
|
|
45,0037,005,อาสยะนั่นแล ชื่อ อัชฌาสัย. และอัชฌาสัยนั้นก็มีหลายอย่าง โดยแยกเป็น
|
|
45,0037,006,สัสสตทิฏฐิเป็นต้น และโดยแยกเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุน้อยเป็นต้น
|
|
45,0037,007,จึงชื่อว่า อเนกัชฌาสัย (มีอัชฌาสัยเป็นอเนก) อีกประการหนึ่ง อัชฌาสัย
|
|
45,0037,008,เป็นอเนก มีอัชฌาสัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัชฌาสัย. อเนกัชฌาสัยนั้น
|
|
45,0037,009,เป็นสมุฏฐาน คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุแห่งพระพุทธพจน์นั้น
|
|
45,0037,010,เพราะเหตุนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงชื่อว่า มีอเนกัชฌาสัยเป็นสมุฏฐาน.
|
|
45,0037,011,(พระพุทธพจน์) ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยอรรถ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วย
|
|
45,0037,012,อรรถ มีกุศลเป็นต้น จึงประกอบด้วยบทแห่งอรรถ ๖ บท คือ สังกาสนะ
|
|
45,0037,013,ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และบัญญัติ ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วย
|
|
45,0037,014,พยัญชนะ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ. ที่ประกาศอรรถนั้นให้
|
|
45,0037,015,แจ่มแจ้ง จึงประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ ๖ บท คือ อักขระ บท พยัญชนะ
|
|
45,0037,016,อาการ นิรุกติ และนิเทศ. ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างอย่างกัน เพราะหมายความว่า
|
|
45,0037,017,ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง คือ มากอย่าง โดยแยกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา-
|
|
45,0037,018,ปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยที่ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ นั้น ปาฏิหาริย์
|
|
45,0037,019,แต่ละอย่างก็แตกต่างกันไปตามอารมณ์เป็นต้น .
|
|
45,0037,020,<H1>อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริย์</H1>
|
|
45,0037,021,ในบทว่า <B>วิวิธปาฏิหริยํ</B> นั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า
|
|
45,0037,022,เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำไปเสียซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมี
|
|
|