|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
35,0043,001,<B>วิเวกนิสฺสิตํ</B> เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้ แม้บททั้ง ๓ คือ วิเวก วิราคะ นิโรธ
|
|
35,0043,002,เป็นชื่อของนิพพาน. แท้จริงนิพพาน ชื่อ<B>วิเวก</B> เพราะสงัดจากอุปธิ ชื่อ
|
|
35,0043,003,<B>วิราคะ</B> เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น จึงคลายไป. ชื่อ<B>นิโรธ</B> เพราะ
|
|
35,0043,004,ราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น ก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในบทว่า <B>วิเวกนิสฺสิตํ</B>
|
|
35,0043,005,เป็นอาทิ จึงมีความว่า อาศัยนิพพานโดยเป็นอารมณ์บ้าง โดยเป็นธรรมที่พึง
|
|
35,0043,006,บรรลุบ้าง.
|
|
35,0043,007,ในบทว่า <B>โวสฺสคฺคปริณามึ</B> นี้ โวสสัคคะมี ๒ คือ <B>ปริจจาค-
|
|
35,0043,008,โวสสัคคะ ๑ ปักขันทนโวสสัคคะ ๑.</B> ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อ
|
|
35,0043,009,<B>ปริจจาคโวสสัคคะ</B> เพราะสละราคะในกิเลสและขันธ์ ด้วยอำนาจตทังค-
|
|
35,0043,010,ปหาน มรรค ชื่อ<B>ปักขันทนโวสสัคคะ</B> เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วยอำนาจ
|
|
35,0043,011,อารมณ์. เพราะฉะนั้น ในบทว่า <B>โวสฺสคฺคปริณามึ</B> นี้ จึงมีเนื้อความดังนี้ว่า
|
|
35,0043,012,สติสัมโพชฌงค์ ที่ภิกษุเจริญอยู่โดยประการใด ย่อมน้อมไปเพื่อสละ ย่อมถึง
|
|
35,0043,013,วิปัสสนาภาวนา และมัคคภาวนา ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดย
|
|
35,0043,014,ประการ นั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า <B>ภทฺทกํ</B> ได้แก่ ที่ได้แล้ว.
|
|
35,0043,015,สมาธิที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น เรียกว่า <B>สมาธินิมิต.</B> บทว่า
|
|
35,0043,016,<B>อนุรกฺขติ</B> ได้แก่ ทำราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ
|
|
35,0043,017,ให้เหือดแห้งไปรักษาไว้. ก็สัญญา ๕ มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น ตรัสไว้ในข้อนี้
|
|
35,0043,018,แต่ในที่นี้ พึงกล่าวอสุภสัญญา ๑๐ ให้พิสดารด้วย. ความพิสดารของอสุภสัญญา
|
|
35,0043,019,นั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.
|
|
35,0043,020,ในคาถา ท่านกล่าวความเพียรอย่างเดียวที่ให้สำเร็จสังวรเป็นต้น
|
|
35,0043,021,โดยชื่อว่า <B>สังวร.</B> บทว่า <B>ขยํ ทุกฺขสฺส ปาปุเณ</B> คือพึงบรรลุพระอรหัต
|
|
35,0043,022,กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์.
|
|
35,0043,023,<I>จบอรรถกถาสังวรสูตรที่ ๔</I>
|
|
|