|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
35,0041,001,<h1>๔. สังวรสูตร</h1>
|
|
35,0041,002,<h2>ว่าด้วยความเพียร ๔</h2>
|
|
35,0041,003,[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ นี้ ปธาน ๔
|
|
35,0041,004,คืออะไร คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ) ภาวนาปธาน
|
|
35,0041,005,(เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้)
|
|
35,0041,006,สังวรปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้ว
|
|
35,0041,007,ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ
|
|
35,0041,008,ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอา
|
|
35,0041,009,โดยอนุพยัญชนะ อภิชฌาโทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล จะพึง
|
|
35,0041,010,ไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุ
|
|
35,0041,011,ความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น
|
|
35,0041,012,เสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ
|
|
35,0041,013,ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น
|
|
35,0041,014,กาย ใจ นี้เรียกว่า <B>สังวรปธาน.</B>
|
|
35,0041,015,ปหานปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากามวิตก
|
|
35,0041,016,พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละเสีย ถ่ายถอนเสีย ทำให้สิ้นไป
|
|
35,0041,017,ให้หายไปเสีย นี้เรียกว่า <B>ปหานปธาน.</B>
|
|
35,0041,018,ภาวนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัมโพชฌงค์
|
|
35,0041,019,คือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อันอิงวิเวก
|
|
35,0041,020,อิงวิราคะ อิงนิโรธ น้อมไปในทางสละ นี้เรียกว่า <B>ภาวนาปธาน.</B>
|
|
|