|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
35,0038,001,<B>สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ</B> ความว่า เธอทั้งหลายจงสมาทานยึดถือสิกขาบทที่ควร
|
|
35,0038,002,สมาทานนั้น ๆ ในส่วนแห่งสิกขาทั้งหมดศึกษาอยู่. ครั้นทรงชักชวนและตรัส
|
|
35,0038,003,สรรเสริญในคุณที่ได้แล้ว ด้วยการตรัสธรรมประมาณเท่านี้ว่า <B>สมฺปนฺนสีลานํ
|
|
35,0038,004,ฯเปฯ สิกฺขาปเทสุ</B> บัดนี้ เมื่อทรงแสดงประโยชน์อันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป
|
|
35,0038,005,จึงตรัสว่า <B>กิมสฺส</B> ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้น บทว่า <B>กิมสฺส</B> แปลว่า
|
|
35,0038,006,จะพึงมีอะไรเล่า.
|
|
35,0038,007,บทว่า <B>ยตํ จเร</B> ความว่า ภิกษุพึงเดินอย่างที่เดินสำรวมระวัง.
|
|
35,0038,008,ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า <B>อจฺเฉ</B> แปลว่า พึงนั่ง. บทว่า <B>ยตเมตํ ปสารเย</B>
|
|
35,0038,009,ความว่า พึงเหยียดอวัยวะน้อยใหญ่อย่างสำรวมคือเรียบร้อย. บทว่า อุทฺธํ
|
|
35,0038,010,แปลว่า เบื้องบน. บทว่า <B>ติริยํ</B> แปลว่า เบื้องกลาง ( วาง) บทว่า <B>อปาจีนํ</B>
|
|
35,0038,011,แปลว่า เบื้องล่าง. เบญจขันธ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตรัสด้วย
|
|
35,0038,012,เหตุประมาณเท่านี้. คำว่า <B>ยาวตา</B> เป็นคำที่แสดงความกำหนด. บทว่า
|
|
35,0038,013,<B>ชคโต คติ</B> ได้แก่ ความสำเร็จแห่งโลก. บทว่า <B>สมเวกฺขิตา จ ธมฺมานํ
|
|
35,0038,014,ขนธานํ อุทยพฺพยํ</B> ความว่า พิจารณาดูความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่ง
|
|
35,0038,015,ธรรม คือ เบญจขันธ์ที่ต่างด้วยอดีตเป็นต้นเหล่านั้น ในโลกทั้งปวง คือได้
|
|
35,0038,016,พิจารณาเห็นโดยชอบด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วนที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเห็นความเกิด
|
|
35,0038,017,แห่งเบญจขันธ์ก็พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ได้. เมื่อเห็นความเสื่อมก็พิจารณา
|
|
35,0038,018,เห็นลักษณะ ๒๕ ได้. บทว่า <B>เจโตสมถสามีจึ</B> ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่สมควร
|
|
35,0038,019,แก่ความสงบจิต. บทว่า <B>สิกฺขมานํ</B> ความว่า เมื่อปฏิบัติ คือ บำเพ็ญอยู่.
|
|
35,0038,020,บทว่า <B>ปหิตตฺโต</B> ได้แก่ มีใจเด็ดเดี่ยว. บทว่า <B>อาหุ</B> แปลว่า กล่าวอยู่.
|
|
35,0038,021,บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ตรัสคละกันกับศีล ในคาถาตรัสถึง
|
|
35,0038,022,ภิกษุผู้ขีณาสพ.
|
|
35,0038,023,<I>จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๒</I>
|
|
|