tripitaka-mbu / 35 /350022.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
35,0022,001,บทว่า <B>ปริสาสุ</B> ได้แก่ ในบริษัททั้ง ๘. บทว่า <B>สีหนาทํ นทติ</B>
35,0022,002,ความว่า เปล่งเสียงแสดงอำนาจอันประเสริฐสุด เสียงแสดงอำนาจของราชสีห์
35,0022,003,หรือบันลือเสียงแสดงอำนาจเสมือนการแผดเสียงของราชสีห์. ความข้อนี้พึง
35,0022,004,แสดงด้วยสีหนาทสูตร. ราชสีห์ เขาเรียกว่า <B>สีหะ</B> เพราะอดทน และเพราะ
35,0022,005,ล่าเหยื่อ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้น เขาเรียกว่า สีหะ เพราะทรงอดทน
35,0022,006,โลกธรรมทั้งหลาย และเพราะทรงกำจัดลัทธิอื่น. การบันลือของสีหะที่ท่าน
35,0022,007,กล่าวอย่างนี้ เรียกว่า <B>สีหนาท.</B> ในสีหนาทนั้น ราชสีห์ประกอบด้วยกำลัง
35,0022,008,ของราชสีกล้าหาญในที่ทั้งปวง ปราศจากขนชูชัน บันลือสีหนาทฉันใด สีหะ
35,0022,009,คือ ตถาคตก็ฉันนั้น ประกอบด้วยกำลังของตถาคต เป็นผู้กล้าหาญในบริษัท
35,0022,010,ทั้ง ๘ ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาท อันประกอบด้วยความงดงาม
35,0022,011,แห่งเทศนามีอย่างต่าง ๆโดยนัยเป็นอาทิว่า อย่างนี้รูป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
35,0022,012,<B>ปริสาสุ สีหนาทํ นทติ</B> ดังนี้ .
35,0022,013,บทว่า <B>พฺรหฺมํ</B> ในบทว่า <B>พฺรหฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ</B> นี้ ได้แก่ จักร
35,0022,014,อันประเสริฐสูงสุดหมดจด. ก็จักกศัพท์นี้
35,0022,015,<B>ย่อมใช้ในอรรถว่าสมบัติ ลักษณะ
35,0022,016,ส่วนแห่งรถ อิริยาบถ ทาน รตนจักร
35,0022,017,ธรรมจักร และอุรจักรเป็นต้น ในที่นี้
35,0022,018,รู้กัน ว่า ใช้ในอรรถว่า ธรรมจักร พึงทำ
35,0022,019,ธรรมจักรให้ชัดแจ้ง แบ่งเป็นสองประการ.</B>
35,0022,020,จริงอยู่ จักกศัพท์นี้ย่อมใช้ในอรรถว่า <B>สมบัติ</B> ได้ในบาลีเป็นต้นว่า
35,0022,021,<B>จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตานํ เทวมนุสฺสานํ</B>
35,0022,022,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกอบพร้อมแล้ว
35,0022,023,ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า <B>ลักษณะ</B> ได้ในบาลีนี้ว่า <B>ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ</B>