|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
34,0034,001,บางอย่างที่ไม่เหมาะสม. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า มีสมาจารที่ตนนั่นแล พึง
|
|
34,0034,002,ระลึกถึงด้วยความระแวง ชื่อว่า <B>สงฺกสฺสรสมาจาโร</B>. จริงอยู่ ภิกษุนั้น
|
|
34,0034,003,เห็นภิกษุทั้งหลายประชุมปรึกษากันถึงเรื่องบางเรื่องในที่ทั้งหลายมีที่พักกลางวัน
|
|
34,0034,004,เป็นต้น แล้วก็มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้จับกลุ่มกันปรึกษา พวกเธอ
|
|
34,0034,005,รู้กรรมที่เราทำแล้วจึงปรึกษากัน หรือหนอแล อย่างนี้ เธอชื่อว่า มีสมาจาร
|
|
34,0034,006,ที่ตนเองพึงระลึกถึงด้วยความระแวง. บทว่า <B>ปฏิจฺฉนฺนกมฺมนฺโต</B> ความว่า
|
|
34,0034,007,ผู้ประกอบด้วยบาปกรรมที่ต้องปิดบัง. บทว่า <B>อสฺสมโณ สมณปฏิฺโ</B>
|
|
34,0034,008,ความว่า บุคคลไม่เป็นสมณะเลย แต่กลับปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นสมณะ
|
|
34,0034,009,เพราะเขาเป็นสมณะเทียม.
|
|
34,0034,010,บทว่า <B>อพฺรหฺมจารี พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ</B> ความว่า บุคคลไม่เป็น
|
|
34,0034,011,พรหมจารีเลย แต่เห็นผู้อื่นที่เป็นพรหมจารีนุ่งห่มเรียบร้อย ครองผ้าสีดอกโกสุม
|
|
34,0034,012,เที่ยวบิณฑบาต เลี้ยงชีวิตอยู่ในคามนิคมราชธานี ก็ทำเป็นเหมือนให้ปฏิญญา
|
|
34,0034,013,ว่า เราเป็นพรหมจารี เพราะแม้ตนเองก็ปฏิบัติด้วยอาการเช่นนั้น คืออย่าง
|
|
34,0034,014,นั้น. แต่เมื่อกล่าวว่า เราเป็นภิกษุ แล้วเข้าไปยังโรงอุโบสถเป็นต้น ชื่อว่า
|
|
34,0034,015,ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี แท้ทีเดียว. เมื่อจะรับลาภของสงฆ์ก็ทำนองเดียวกัน
|
|
34,0034,016,คือปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี.
|
|
34,0034,017,บทว่า <B>อนฺโตปูติ</B> ได้แก่ มีภายในหมักหมมด้วยกรรมเสีย. บทว่า
|
|
34,0034,018,<B>อวสฺสุโต</B> ได้แก่ ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ที่เกิดอยู่เสมอ
|
|
34,0034,019,บทว่า <B>ตสฺส น เอวํ โหติ</B> ความว่า บุคคลนั้น ไม่มีความคิดอย่างนี้
|
|
34,0034,020,เพราะเหตุไร เพราะเขาไม่มีอุปนิสัยแห่งโลกุตรธรรม. บทว่า <B>ตสฺส เอวํ
|
|
34,0034,021,โหติ</B> ความว่า เพราะเหตุไร เธอจึงมีความคิดอย่างนี้ เพราะเธอเป็นผู้มี
|
|
34,0034,022,ปกติทำให้บริบูรณ์ในมหาศีล.
|
|
34,0034,023,<I>จบอรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๓</I>
|
|
|