tripitaka-mbu / 34 /340008.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
34,0008,001,เขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อมเป็นผู้คิด
34,0008,002,อารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล คนฉลาด
34,0008,003,ทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ
34,0008,004,นิมิต อปทาน ๓ อย่างของบัณฑิต
34,0008,005,เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคล
34,0008,006,ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด พึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลาย
34,0008,007,จักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด
34,0008,008,พึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้น ประพฤติ
34,0008,009,ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
34,0008,010,<I>จบจินตสูตรที่ ๓</I>
34,0008,011,<H1>อรรถกถาจินตสูตร</H1>
34,0008,012,พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-
34,0008,013,บทว่า <B>พาลลกฺขณานิ</B> ได้แก่ ที่ชื่อว่า พาลลักษณะ (ลักษณะ
34,0008,014,ของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพาล.
34,0008,015,ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
34,0008,016,เครื่องหมายของคนพาล. บทว่า <B>พาลาปทานนิ</B> ได้แก่ ความประพฤติของ
34,0008,017,คนพาล. บทว่า <B>ทฺจฺจินฺติตจินฺตี</B> ความว่า คนพาลเมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่องที่