|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
32,0022,001,สมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอด
|
|
32,0022,002,สมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้นเพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ
|
|
32,0022,003,ด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา
|
|
32,0022,004,ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า
|
|
32,0022,005,<B>ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าว<B>สมยศัพท์</B>
|
|
32,0022,006,ในปิฎกอื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ แต่
|
|
32,0022,007,ในพระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าว<B>สมย</B>ศัพท์นั้นด้วย
|
|
32,0022,008,ทุติยาวิภัตติ.</B>
|
|
32,0022,009,ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นี้ต่างกันแต่เพียง
|
|
32,0022,010,โวหารว่า <B>ตสฺมึ สมเย</B> บ้าง <B>เตน สมเยน</B> บ้าง <B>ตํ สมยํ</B> บ้าง ในที่
|
|
32,0022,011,ทุกแห่ง มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น แม้ท่านกล่าวว่า
|
|
32,0022,012,<B>เอกํ สมยํ</B> ก็พึงทราบเนื้อความว่า <B>เอกสฺมึ สมเย</B> (ในสมัยหนึ่ง)
|
|
32,0022,013,บทว่า <B>ภควา</B> เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. จริงอยู่ คนทั้งหลาย
|
|
32,0022,014,เรียกครูในโลกว่า <B>ภควา.</B> ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นครูของสัตว์
|
|
32,0022,015,ทั้งปวง เพราะเป็นประเสริฐพิเศษโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น
|
|
32,0022,016,พึงทราบพระองค์ว่า <B>ภควา.</B> แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า
|
|
32,0022,017,คำว่า <B>ภควา</B> เป็นคำประเสริฐ คำว่า <B>ภควา</B>
|
|
32,0022,018,เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่
|
|
32,0022,019,ความเคารพโดยฐานครู เพราะเหตุนั้น บัณฑิต
|
|
32,0022,020,จึงขนานพระนามว่า <B>ภควา. </B>
|
|
|