|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
27,0033,001,อุบายในคำว่า <B>อุปายุปาทานา</B> มี ๒ อย่าง คือ ตัณหาอบาย ๑
|
|
27,0033,002,ทิฏฐิอุบาย ๑ และอุปาทาน ในคำว่า <B>อุปายุปาทานา</B> มี ๔ อย่าง มี
|
|
27,0033,003,กามุปาทานเป็นต้น. บทว่า เจตโส อธิฏฺานาภินิเวสานุสยา ได้แก่เป็น
|
|
27,0033,004,ที่ตั้งอาศัย เป็นที่ยึดมั่น และเป็นที่นอนเนื่องแห่งอกุศลจิต. บทว่า
|
|
27,0033,005,<B>ตถาคตสฺส</B> ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงอยู่ ตัณหาและอุปาทาน
|
|
27,0033,006,เหล่านั้น พระขีณาสพทุกจำพวกละได้แล้ว. แต่เมื่อว่าโดยส่วนสูง
|
|
27,0033,007,ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ความที่พระศาสดาเป็นพระขีณาสพ ปรากฏชัด
|
|
27,0033,008,แล้วในโลก. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจัดวิญญาณไว้ในที่นี้ว่า
|
|
27,0033,009,วิญฺาณธาตุยา ดังนี้. แก้ว่า เพื่อแสดงการละกิเลส. ด้วยว่า กิเลสที่
|
|
27,0033,010,ท่านละในขันธ์ ๔ เท่านั้น ยังไม่เป็นอันละได้ ต้องละได้ขันธ์ทั้ง ๕
|
|
27,0033,011,จึงเป็นอันละได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดไว้ เพื่อแสดงการละกิเลส. บทว่า
|
|
27,0033,012,<B>เอวํ โข คหปติ อโนกสารี โหติ</B> ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีที่อยู่อาศัย
|
|
27,0033,013,ประจำอย่างนี้ คือด้วยกรรมวิญญาณที่ไม่อาศัยที่อยู่.
|
|
27,0033,014,บทว่า <B>รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา</B> ความว่า รูปนั่นแหละชื่อว่า
|
|
27,0033,015,นิมิต เพราะอรรถว่าเป็นปัจจัยของกิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า<B>นิเกต</B>เพราะ
|
|
27,0033,016,อรรถว่าเป็นที่อยู่อาศัยกล่าวคือเป็นอารมณ์ ดังนั้นจึงชื่อว่ามีรูปเป็นนิมิต
|
|
27,0033,017,และเป็นที่อยู่อาศัย. ความซ่านไปและความพัวพัน ชื่อว่า<B>วิสารวินิพันธะ.</B>
|
|
27,0033,018,ด้วยสองบทว่า วิสาระ และ วินิพันธะ ท่านกล่าวถึงความที่กิเลสแผ่ไป
|
|
27,0033,019,และความที่กิเลสพัวพัน. บทว่า <B>รูปนิมิตฺตนิเกตวิสารวินิพนฺธา</B> แปลว่า
|
|
27,0033,020,เพราะซ่านไปและพัวพันในรูปอันเป็นนิมิตและเป็นที่พัก ฉะนั้นจึงมี
|
|
27,0033,021,อธิบายว่า ด้วยความซ่านไปแห่งกิเลส และด้วยความพัวพันแห่งกิเลส
|
|
27,0033,022,ที่เกิดขึ้นในรูปที่เป็นนิมิตและเป็นที่อยู่อาศัย. บทว่า <B> นิเกตสารีติ วุจฺจติ</B>
|
|
27,0033,023,ความว่า สถานที่เป็นที่อยู่อาศัย ท่านเรียกว่า <B>สารี</B> โดยกระทำให้เป็น
|
|
|