|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
24,0026,001,อภิกกันตศัพท์ ในอรรถว่า ยินดียิ่ง เช่นในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า
|
|
24,0026,002,<B>อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ อภิกฺกนฺตํ โภ โคตมํ</B> แปลว่า ข้าแต่พระโคดม
|
|
24,0026,003,ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง ข้าแด่พระโคดม ผู้เจริญน่ายินดียิ่ง.
|
|
24,0026,004,แต่ในที่นี้ อภิกกันตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า สิ้นไป ด้วยคำนั้น ท่าน
|
|
24,0026,005,จึงกล่าวว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว สิ้นไปรอบแล้ว. ในข้อนั้น พึงทราบว่า
|
|
24,0026,006,เทวบุตรนี้มาแล้วในเวลาใกล้ที่สุดแห่งมัชฌิมยามทีเดียว.
|
|
24,0026,007,ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลาย เมื่อมาสู่ที่บำรุงของพระพุทธเจ้า หรือสาวก
|
|
24,0026,008,ของพระพุทธเจ้า ย่อมมาในเวลามัชฌิมยาม เท่านั้น นี้เป็นนิยามของเทวดา
|
|
24,0026,009,ทั้งหลาย. อภิกกันตศัพท์ ในคำว่า <B>อภิกฺกนฺตวณฺณา</B> นี้ ใช้ในอรรถว่า
|
|
24,0026,010,วรรณะงาม.
|
|
24,0026,011,<H1>ว่าด้วยวัณณศัพท์</H1>
|
|
24,0026,012,ก็วัณณศัพท์ ปรากฏในอรรถได้หลายอย่าง เช่น ในอรรถว่า ผิว
|
|
24,0026,013,คุณความดี กุลวัคคะ (ชาติ) เหตุ ทรวดทรง ขนาด รูปายตนะ เป็นต้น.
|
|
24,0026,014,ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วัณณศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ผิว เช่นใน
|
|
24,0026,015,ประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า <B>สุวณฺณวณฺโณ ภควา</B> แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
|
|
24,0026,016,มีผิว เพียงดังวรรณะแห่งทองคำ.
|
|
24,0026,017,วัณณศัพท์ ในอรรถว่า คุณความดี (ถุติ) เช่นในประโยคมีอาทิ
|
|
24,0026,018,อย่างนี้ว่า <B>กทา สพฺยุณฺหา ปน เต คหปติ สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา</B>
|
|
24,0026,019,แปลว่า ดูก่อนคหบดี ท่านประมวลคุณความดีของพระสมณโคดมมาไว้แต่
|
|
24,0026,020,เมื่อไร.
|
|
|