|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
23,0032,001,ของตน. บทว่า <B>สมฺปชาโน โหติ</B> ความว่า รู้สึกตัว โดยรู้ว่ากัมมัฏฐาน
|
|
23,0032,002,ยังไม่สมบูรณ์. บทว่า <B>พหิทฺธา</B> ได้แก่ ในเบญจขันธ์ของผู้อื่น. บทว่า
|
|
23,0032,003,<B>อชฺฌตฺตพหิทฺธา</B> ความว่า บางครั้งภายใน บางครั้งภายนอก. บทว่า <B>อเนญฺชํ</B>
|
|
23,0032,004,ความว่า ใส่ใจ อเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.
|
|
23,0032,005,บทว่า <B>ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ</B> ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท. ก็เมื่อภิกษุ
|
|
23,0032,006,นั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายใน
|
|
23,0032,007,จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้นใส่ใจไปในภายนอกว่า ใน
|
|
23,0032,008,สันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ. จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัติ นั้น.
|
|
23,0032,009,แต่นั้น ใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร
|
|
23,0032,010,ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตา
|
|
23,0032,011,สมาบัตินั้น. แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติ
|
|
23,0032,012,ว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล. จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชา-
|
|
23,0032,013,สมาบัตินั้น. ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงพระพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า
|
|
23,0032,014,บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แค่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดี
|
|
23,0032,015,อย่างเดียว. เพื่อจะทรงแสดงว่า การใส่ใจพระกัมมัฏฐานย่อมแล่นไปสะดวก
|
|
23,0032,016,เหมือนบุรุษจะตัดไม้ เมื่อขวานวิ่น ต้องลับขวานเสียก่อนแล้วจึงค่อยตัด
|
|
23,0032,017,ขวานจึงจะคม ด้วยประการฉะนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า <B>ตสฺมิญฺเว</B> ดีนี้.
|
|
23,0032,018,บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อภิกษุนั้นปฏิบัติอย่างนี้ การใส่ใจใน
|
|
23,0032,019,สมาบัตินั้น ๆ ย่อมสมบูรณ์ จึงตรัสว่า <B>ปกฺขนฺทติ.</B> บทว่า <B>อิมินา วิหาเรน</B>
|
|
23,0032,020,ได้แก่ด้วยวิหารธรรมคือสมถะและวิปัสสนา. บทว่า <B>อิติ ตตฺถ สมฺปชาโน</B>
|
|
23,0032,021,ความว่า แม้เมื่อกำลังเดินจงกรมอยู่ ก็รู้ชัดว่า เมื่อกัมมัฏฐานนั้น สมบูรณ์
|
|
23,0032,022,กัมมัฏฐานของเราก็สมบูรณ์. บทว่า <B>สยติ</B> แปลว่า ย่อมนอน. ในข้อนี้
|
|
23,0032,023,ความว่า ภิกษุจะเดินจงกรมเวลาไหน ๆ ก็รู้ว่า บัดนี้เราอาจเดินจงกรมได้
|
|
|