|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
22,0036,001,บทว่า <B>ยถาสุขํ โข เม วิหรโต</B> ความว่า อยู่ตามความสุข
|
|
22,0036,002,ที่เราต้องการจะอยู่. บทว่า <B>ปทหนฺตสฺส</B> ได้แก่ ส่งไป. ก็ในคำว่า <B>ยถาสุขํ
|
|
22,0036,003,โข เม วิหรโต</B> นี้ ภิกษุใดมีการปฏิบัติสะดวก (แต่) ไม่เป็นที่สบาย ภิกษุ
|
|
22,0036,004,นั้น ครองจีวรเนื้อละเอียด อยู่ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส จิตย่อมฟุ้งซ่าน.
|
|
22,0036,005,ภิกษุใด มีการปฏิบัติลำบาก (แต่) เป็นที่สบาย. ภิกษุนั้นครองจีวรเนื้อหยาบ
|
|
22,0036,006,ทั้งขาดทั้งวิ่นอยู่ป่าช้าและโคนไม้เป็นต้น จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ทรงหมายเอา
|
|
22,0036,007,ภิกษุนั้น จึงตรัสคำนี้. ในคำว่า <B>เอวเมว โข</B> นี้ เทียบเคียงข้ออุปมา ดังต่อ
|
|
22,0036,008,ไปนี้. ท่านผู้ประกอบความเพียรซึ่งกลัวต่อชาติ ชรา และมรณะ พึงเห็น
|
|
22,0036,009,เหมือนช่างศร จิตอันคดโกง พึงเห็นเหมือนลูกศรอันคดโค้งและงอ ความ
|
|
22,0036,010,เพียรทางกายและทางจิต พึงเห็นเหมือนดุ้นฟืนสองดุ้น. <B>ศรัทธา</B> พึงเห็น
|
|
22,0036,011,เหมือนยางน้ำข้าว ของช่างศรผู้ดัดลูกศรให้ตรง <B>โลกุตรมรรค</B> พึงเห็น
|
|
22,0036,012,เหมือนท่อนไม้สำหรับดัด. การที่ภิกษุเอาศรัทธาชโลมจิตที่คดโกงและงอแล้ว
|
|
22,0036,013,ย่าง ด้วยความเพียรทางกายและทางจิต ทำให้ตรงด้วยโลกุตรมรรค พึงเห็น
|
|
22,0036,014,เหมือนช่างศรเอายางน้ำข้าวชโลมลูกศรที่คดโค้งงอแล้วย่างในฟืน แล้วดัดให้
|
|
22,0036,015,ตรงด้วยไม้สำหรับดัด. การเสวยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ ของภิกษุผู้ประกอบ
|
|
22,0036,016,ความเพียรนี้ แทงหมู่กิเลสด้วยจิตทำให้ตรงอย่างนั้น มีกำลังชั้นเยี่ยมด้วย
|
|
22,0036,017,นิโรธ (อยู่) ในเสนาสนะอันน่าเลื่อมใส พึงเห็นเหมือนช่างศรนั่นแลยิงข้าศึก
|
|
22,0036,018,ด้วยลูกศรที่ดัดให้ตรงอย่างนั้น แล้วได้เสวยสมบัติในที่นี้ เพื่อจะตรัสข้อปฏิบัติ
|
|
22,0036,019,สำหรับภิกษุผู้ปฏิบัติสะดวกและรู้เร็ว กับภิกษุผู้ปฏิบัติลำบากแต่รู้เร็ว ที่ยัง
|
|
22,0036,020,ไม่ได้ตรัส สำหรับภิกษุสองพวกนอกนี้ พระตถาคตจึงทรงเริ่มเทศนากัณฑ์นี้.
|
|
22,0036,021,เมื่อตรัสข้อปฏิบัติทั้งสองเหล่านี้ (คือ สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา และ
|
|
22,0036,022,ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา) แม้ข้อปฏิบัตินอกนี้ (คือ ทุกขาปฏิปทาทัน-
|
|
|