|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
07,0043,001,บทว่า <B>อนฺตรธายติ</B> ได้แก่ เป็นรูปที่มองไม่เห็น.
|
|
07,0043,002,สองบทว่า <B>โลหิเตน ผุฏฺโฐ</B> ได้แก่ เป็นที่จงกรมซึ่งเปื้อนเลือด.
|
|
07,0043,003,บทว่า <B>ควาฆาตนํ</B> มีความว่า เป็นเช่นกับสถานที่ฆ่าโคทั้งหลาย.
|
|
07,0043,004,บทว่า <B>กุสโล</B> ได้แก่ ผู้ฉลาดในการดีดพิณ.
|
|
07,0043,005,สองบทว่า <B>วีณาย ตนฺติสฺสเร</B> ได้แก่ เสียงแห่งสายพิณ.
|
|
07,0043,006,บทว่า <B>อจฺจายิกา</B> ได้แก่ เป็นสายที่ขึงตึงนัก คือกวดเขม็งนัก
|
|
07,0043,007,บทว่า <B>สรวตี</B> ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยเสียง.
|
|
07,0043,008,บทว่า <B>กมฺมุญฺา</B> ได้แก่ ควรแก่การงาน.
|
|
07,0043,009,บทว่า <B>อติสิถิลา</B> ได้แก่ เป็นสายที่หย่อนนัก.
|
|
07,0043,010,สามบทว่า <B>สเม คุเณ ปตฏฺฐิตา</B> ได้แก่ ขึงกะให้เสียงเป็นกลาง ๆ.
|
|
07,0043,011,สองบทว่า <B>วิริยสมถํ อธิฏฺาฐาหิ</B> มีความว่า ท่านจงอธิษฐานสมถะ
|
|
07,0043,012,"อันสัมปยุตด้วยความเพียร, อธิษฐานว่า จงประกอบด้วยความสงบเนื่องด้วย"
|
|
07,0043,013,ความเพียร.
|
|
07,0043,014,สามบทว่า <B>อินฺทฺริยานญฺจ สมตํ ปฏิวิชฺฌ</B> มีความว่า จงทราบ
|
|
07,0043,015,ข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายมีสัทธาเป็นต้น ต้องเป็นของเสมอ ๆ กัน คือเท่า ๆ กัน
|
|
07,0043,016,คือจงเข้าใจข้อที่อินทรีย์ทั้งหลายที่คนประกอบอยู่ บรรดาอินทรีย์เหล่านั้น
|
|
07,0043,017,สัทธาและปัญญา และปัญญากับสัทธา ความเพียรกับสมาธิ และสมาธิกับ
|
|
07,0043,018,ความเพียร ต้องพอดี ๆ กัน.
|
|
07,0043,019,ข้อว่า <B>ตตฺถ จ นิมิตฺตํ คณฺหาหิ</B> มีความว่า เมื่อความสม่ำ
|
|
07,0043,020,"เสมอกันนั้นมีอยู่, นิมิตเป็นราวกะเงาในกระจกพึงเกิดขึ้น ท่านจงถือเอา"
|
|
07,0043,021,นิมิตนั้น คือ สมถนิมิต วิปัสสนานิมิต มรรคนิมิต ผลนิมิต ความว่า จง
|
|
07,0043,022,ให้นิมิตนั้นเกิด.
|
|
|