tripitaka-mbu / 05 /050035.csv
uisp's picture
add data
3c90236
Book,Page,LineNumber,Text
05,0035,001,<H1>อรรถกถาปาราชิกสิกขาบทที่ ๔</H1>
05,0035,002,วินิจฉัยในปาราชิกสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังนี้ :-
05,0035,003,<B>แก้อรรถบางปาฐะและบางเรื่องในจตุตถปาราชิก</B>
05,0035,004,บทว่า <B>อวสฺสุตา</B> ได้แก่ ผู้กำหนัดด้วยกายสังสัคคราคะ ด้วยอำนาจ
05,0035,005,มิตตสันถวะ กล่าวคือ ความยินดีทางโลกีย์. แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้นั่นแล.
05,0035,006,ก็ในคำว่า <B>ปุริสปุคฺคลสฺส หตฺถคฺคหณํ วา</B> เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า
05,0035,007,การจับมือที่บุคคลผู้ชายทำแล้ว ตรัสเรียกว่า การจับมือแห่งบุรุษบุคคล. แม้
05,0035,008,ในการจับชายผ้าสังฆาฎิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่การจับมือ และการจับแม้อย่าง
05,0035,009,อื่นในเขตที่ไม่เป็นปาราชิก บัณฑิตพึงทราบว่า ท่านรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน
05,0035,010,เรียกว่าการจับมือ ในคำว่า <B>หตฺถคฺคหณํ</B> นี้. ด้วยเหตุนั้นแล ในบทภาชนะ
05,0035,011,แห่งบทว่า <B>ทตฺถคฺคหณํ </B>นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สองบทว่า
05,0035,012,<B> หตฺถคฺคหณํ วา สาทิเยยฺย</B> มีความว่า ที่ชื่อว่ามือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอกไป
05,0035,013,"จนถึงปลายเล็บ, ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้มณฑลเข่า"
05,0035,014,ลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. แต่ในบทว่า
05,0035,015,<B>อสทฺธมฺโม</B> นี้ การเคล้าคลึงกาย พึงทราบว่า <B>อสัทธรรม</B> ไม่ใช่เมถุนธรรม.
05,0035,016,แท้จริงถุลลัจจัยหาใกล้เคียงต่อเมถุนธรรมไม่. อนึ่ง แม้คำว่า เป็นผู้รู้ความ
05,0035,017,เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงกาย ก็เป็นเครื่องสาธกได้ ในบทว่า <B>อสทฺ-
05,0035,018,ธมฺโม</B>นี้.
05,0035,019,หากผู้ท้วง จะพึงท้วงว่า คำที่ท่านกล่าวว่า การเคล้าคลึงกาย พึงทราบ
05,0035,020,ว่า อสัทธรรม ก็ผิดจากเสทโมจนคาถา ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนี้ว่า