|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
04,0023,001,อีกนัยหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐาน ในคำว่า <B>อทิฏฺํ ทิฏฺํ</B>
|
|
04,0023,002,"<B>เม</B> เป็นต้นนี้ว่า อารมณ์ที่ตนไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งจักษุชื่อว่า ไม่เห็น,"
|
|
04,0023,003,"ที่ไม่ได้รับด้วยอำนาจแห่งโสตะ ชื่อว่า ไม่ได้ยิน, ที่ไม่ได้รับ ทำให้ดุจเนื่อง"
|
|
04,0023,004,เป็นอันเดียวกันกับอินทรีย์ ๓ ด้วยอำนาจแห่งฆานินทรีย์เป็นต้น ชื่อว่า
|
|
04,0023,005,"ไม่ทราบ, ที่วิญญาณล้วน ๆ อย่างเดียว นอกจากอินทรีย์ ๕ ไม่ได้รับ ชื่อว่า"
|
|
04,0023,006,ไม่รู้.
|
|
04,0023,007,แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเทศนาโดยนัยอันปรากฏชัด
|
|
04,0023,008,ทีเดียวอย่างนี้ว่า ที่ชื่อว่า ไม่เห็น คือ ไม่เห็นด้วยตา ฉะนี้แล.
|
|
04,0023,009,ก็บรรดาอารมณ์ที่ได้เห็นเป็นต้น ที่ตนเองก็ดี คนอื่นก็ดี เห็นแล้ว
|
|
04,0023,010,ชื่อว่า ทิฏฐะทั้งนั้น. อารมณ์ที่ชื่อว่า สุตะ มุตะ และวิญญาตะก็อย่างนี้ นี้
|
|
04,0023,011,เป็นบรรยายหนึ่ง. ส่วนอีกบรรยายหนึ่ง อารมณ์ใดที่ตนเห็นเอง อารมณ์นั้น
|
|
04,0023,012,จัดเป็นทิฎฐะแท้. ในสุตะเป็นต้น ก็มีนัยอย่างนั้น. ก็อารมณ์ใดที่คนอื่นเห็น
|
|
04,0023,013,อารมณ์นั้น ย่อมตั้งอยู่ในฐานะแห่งอารมณ์ที่ตนได้ยิน. แม้อารมณ์มีสุตะ
|
|
04,0023,014,เป็นต้น ก็มีนัยอย่างนี้.
|
|
04,0023,015,บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะยกอาบัติขึ้นแสดงด้วยอำนาจแห่งอนริย-
|
|
04,0023,016,โวหารเหล่านั้น จึงกล่าวคำว่า <B>ตีหากาเรหิ</B> เป็นต้น . บัณฑิตพึงทราบ-
|
|
04,0023,017,เนื้อความแห่งคำว่า <B>ตีหากาเรหิ</B> เป็นต้นนั้น โดยนัยดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว
|
|
04,0023,018,ในวรรณนาบาลีจตุตถปาราชิก มีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุกล่าวสัมปชานมุสาวาทว่า
|
|
04,0023,019,ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌาน ต้องอาบัติปาราชิกโดยอาการ ๓ ดังนี้นั่นแล. จริงอยู่
|
|
04,0023,020,ในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น ท่านกล่าวไว้เพียงคำว่า <B>ปมํ ฌานํ สมาปชฺชึ.</B>
|
|
04,0023,021,"ข้าพเจ้าบรรลุปฐมฌานแล้ว อย่างเดียว, ในสิกขาบทนี้ กล่าวไว้ว่า <B>อทิฏฺํ</B>"
|
|
04,0023,022,<B>ทิฏฺํ เม</B> ไม่เห็นพูดว่า ข้าพเจ้าเห็น ดังนี้. และในบาลีจตุตถปาราชิกนั้น
|
|
|