|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
01,0045,001,อภิศัพท์นี้มาในอรรถว่าเจริญ ในคำเป็นต้นว่า ทุกขเวทนากล้า ย่อมเจริญ
|
|
01,0045,002,แก่เรา<SUP>๑</SUP> ดังนี้. มาในอรรถว่ามีความกำหนดหมายในคำเป็นต้นว่า ราตรี
|
|
01,0045,003,เหล่านั้นใด อันท่านรู้กันแล้ว กำหนดหมายแล้ว <SUP>๒</SUP> ดังนี้. มาในอรรถว่าอัน
|
|
01,0045,004,บุคคลบูชาแล้ว ในคำมีว่า พระองค์เป็นพระราชาผู้อันพระราชาบูชาแล้ว
|
|
01,0045,005,เป็นจอมมนุษย์<SUP>๓</SUP> เป็นอาทิ. มาในอรรถว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดแล้ว ในคำ
|
|
01,0045,006,เป็นอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้สามารถเพื่อจะแนะนำเฉพาะธรรม เฉพาะวินัย<SUP>๔</SUP> ท่าน
|
|
01,0045,007,อธิบายว่า เป็นผู้สามารถจะแนะนำในธรรมและวินัย ซึ่งเว้นจากความปะปน
|
|
01,0045,008,กันและกัน. มาในอรรถว่ายิ่ง ในคำเป็นต้นว่า มีวรรณะงามยิ่ง<SUP>๕</SUP> ดังนี้.
|
|
01,0045,009,ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมทั้งหลายในพระอภิธรรมนี้ มีความเจริญบ้าง
|
|
01,0045,010,โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมเจริญมรรค เพื่อเข้าถึงรูปภพ <SUP>๖</SUP> ภิกษุมีจิตประกอบ
|
|
01,0045,011,ด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่ง <SUP>๗</SUP> อยู่. ชื่อว่ามีความกำหนดหมายบ้าง เพราะ
|
|
01,0045,012,เป็นธรรมควรกำหนดได้ ด้วยกรรมทวารและปฏิปทาที่สัมปยุตด้วยอารมณ์
|
|
01,0045,013,เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า จิต ... ปรารภอารมณ์ใด ๆ เป็นรูปารมณ์ก็ดี
|
|
01,0045,014,สัททารมณ์ก็ดี <SUP>๘</SUP> อันบุคคลบูชาแล้วบ้าง อธิบายว่า ควรบูชา โดยนัยเป็นต้นว่า
|
|
01,0045,015,เสขธรรม อเสขธรรม โลกุตรธรรม<SUP>๙</SUP>. ชื่อว่าอันบัณฑิตกำหนดตัดบ้าง เพราะ
|
|
01,0045,016,เป็นธรรมที่ท่านกำหนดตามสภาพ โดยนัยเป็นต้นว่า ในสมัยนั้น ผัสสะมี
|
|
01,0045,017,เวทนา<SUP>๑๐</SUP>มี. ตรัสธรรมทั้งหลายที่ยิ่งบ้าง โดยนับเป็นต้นว่า มหัคคตธรรม
|
|
01,0045,018,อัปปมาณธรรม <SUP>๑๑</SUP> อนุตตรธรรม<SUP>๑๒</SUP> ด้วยเหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดใน
|
|
01,0045,019,อรรถาธิบายคำแห่งพระอภิธรรมนี้ ข้าพเจ้าจึงกล่าวคาถาประพันธ์นี้ไว้ว่า
|
|
|